DSpace Repository

รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ ทัณฑสถาน สถานฝึกงาน และสถานพินิจ

Show simple item record

dc.contributor.author ทรงวุฒิ อยู่เอี่ยม
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2019-03-25T09:01:15Z
dc.date.available 2019-03-25T09:01:15Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1078
dc.description.abstract ลักษณะของกลุ่มเป้าหมาย: ผู้ถูกควบคุมในสถานควบคุมทั้ง 5 แห่ง ในจังหวัดชลบุรี มีประมาณ จำนวน 8,267 คน (ข้อมูล ณ 13 มีนาคม 2552) สังคมของผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นสังคมที่มีความซับซ้อน มีความแตกต่างจากสังคมโดยทั่วไป มีลักษณะเฉพาะทั้งวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ หรือพฤติกรรม สังคมของผู้ต้องขังประกอบไปด้วยผู้ต้องขังจำนวนเป็นร้อยเป็นพันมาอยู่รวมกันเป็นเวลานาน ทำให้เกิดความแออัด อาจทำให้เกิดโรคระบาด และโรคติดต่อในเรือนจำ ปัจจุบันปัญหาโรคเอดส์ยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในสถานควบคุม แต่เดิมห้ามแจกถุงยางอนามัยให้ผู้ต้องขัง เพราะเชื่อว่าเป็นการส่งเสริมให้ผู้ต้องขังมีเพศสัมพันธ์ แต่ในปัจจุบันได้มีการยอมรับปัญหามากขึ้น เพราะอาจมีผู้ติดเชื้อที่ถูกควบคุมอยู่ ยากที่จะป้องกันไม่ให้มีการร่วมเพศกับผู้อื่น บางรายถูกปล่อยตัวออกไปแล้วกระทำผิดกลับเข้ามาอีก มีโอกาสแพร่เชื้อเอดส์สู่ผู้อื่น จึงส่งผลต่อผู้ถูกควบคุมในสถานควบคุมแล้วยังส่งผลต่อสังคมนอก จากข้อมูลการวิจัยเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ในสถานควบคุม พบว่า ผู้ถูกควบคุมส่วนใหญ่เป็นวัยเจริญพันธ์ ถูกตัดสินจากคดียาเสพย์ติด โดยประวัติพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสักหรือฝังมุกหรือทำแคปมาก่อน รวมถึงเคยมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่คู่สมรสหรือแฟนมาก่อน 1-5 คน และมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์ภายในสถานควบคุมประมาณ ร้อยละ 10 ของผู้ถูกควบคุมทั้งหมด กลวิธีการดำเนินการ: 1. จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหา ในปีงบประมาณ 2552 2. การอบรมให้ความรู้ความเข้าใจโรคเอดส์ และการให้การปรึกษาแก่เจ้าหน้าที่ในสถานควบคุมทั้ง 6 แห่ง เพื่อให้สามารถนำความรู้ความเข้าใจไปขยายผลในการดูแลและเป็นพี่เลี้ยง อาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อนในสถานควบคุมของตนเอง 3. จัดอบรมอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน โดยคัดเลือกผู้ที่มีจิตอาสา มีวุฒิภาวะ อ่านออกเขียนได้ มีภาวะผู้นำ มนุษยสัมพันธ์ดี และมีระยะเวลาในการถูกควบคุมมากกว่า 1-5 ปี ตลอดจนจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในสถานควบคุม การพัฒนาสมรรถนะผู้ที่เกี่ยวข้อง: การดำเนินโครงการอบรมเจ้าหน้าที่และแกนนำอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน จัดหลักสูตรไว้ 6 ครั้ง อบรมเจ้าหน้าที่ 1 ครั้ง เพื่อนำความรู้ความเข้าใจไปดูแลแกนนำ ฯ และอบรมแกนนำอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน จำนวน 5 ครั้ง ครั้งละแห่ง แห่งละ 1 วัน ซึ่งหลักสูตรที่ใช้ในการอบรม ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาเบื้องต้น ประสบการณ์และการสร้างเครือข่าย และการใช้คู่มืออาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน ทั้งนี้ กิจกรรมการอบรมต่าง ๆ ใช้ทรัพยากรบุคคลของหน่วยงานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่พยาบาล เป็นผู้ไปถ่ายถอดความรู้ทางวิชาการ โดยสลับหมุนเวียนไปช่วยหน่วยอื่น ๆ ตามตารางการอบรม ได้อาจารย์จากมหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งเป็นที่ปรึกษากลุ่มร่วมเป็นวิทยากร ได้หน่วยงานที่ทำงานด้านเอดส์โดยตรงจาก สวิง และเครือข่ายสายธาร ซึ่งเป็นชมรมผู้รับเชื้อเอดส์มาถ่ายทอดประสบการณ์และการทำงานด้านเครือข่าย และหลังเสร็จสิ้นการอบรม ทางประธานกลุ่มได้นัดประชุมสรุปผลอีก 3 ครั้งตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ มีการประเมินผลโดยใช้ CIPP Model สัมฤทธิ์ผลของโครงการ: 1. อัตราความเสร็จตามแผนปฏิบัติ ร้อยละ 55 (11 ตัวชี้วัด) ของตัวชี้วัดทั้งหมด (20 ตัวชี้วัด) ซึ่งตัวชี้วัดบางตัวไม่สามารถกำหนดหรือดำเนินการได้เองจากเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานซึ่งต้องเป็นนโยบายระดับผู้บริหารในระดับต่าง ๆ เป็นการกำหนดจึงทำให้บรรลุได้ ตัวอย่างเช่น การจัดให้มีแพทย์หมุนเวียนเพื่อการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ การบริการถุงยางอนามัยในสถานควบคุมทุกแห่ง ซึ่งจะส่งผลต่อการเก็บข้อมูลอัตราการใช้ถุงยางอนามัยได้อย่างชัดเจน รวมถึงการกำหนดการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก 2. ปัจจัยนำเข้าต่าง ๆ มีการเตรียมความพร้อมอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดระยะเวลาให้ทันตามกรอบงบประมาณ และบทบาทผู้รับผิดชอบในภารกิจต่าง ๆ อย่างชัดเจน ทั้งนี้สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน เป็นประธานกลุ่มสถานควบคุม ทำหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระดมความคิดในการจัดทำหลักสูตรอบรม ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ การเบิกจ่ายงบประมาณ การจัดการด้านเอกสารวิชาการและการเงิน เตรียมอุปกรณ์ในการอบรม ติดต่อวิทยากร สรุปผลตามวาระการประชุม และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงาน 3. มีเครือข่ายเจ้าหน้าที่ที่เข้มแข็งในการปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในสถานควบคุมทั้ง 5 แห่ง 4. มีแกนนำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” เป็นเครือข่ายรณรงค์ ป้องกันโรคเอดส์ในสถานควบคุมทั้ง 5 แห่ง 5. มีคู่มือแกนนำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ในการปฏิบัติงานในการควบคุมและป้องกันโรคเอดส์ในสถานควบคุม ข้อจำกัด: จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมาพบว่าอุปสรรคหรือปัญหาในการทำงานด้านเอดส์มีไม่มากนัก โดยสรุปในภาพรวมทั้ง 5 แห่ง มีอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้ 1. มีข้อจำกัดในการแจกถุงยางอนามัยในสถานพินิจ ฯ และสถานฟื้นฟู ฯ เนื่องจากมีกฎระเบียบของสถานควบคุม 2. ขาดแคลนแพทย์ที่จะเข้าไปให้บริการตรวจรักษาพยาบาลผู้ถูกควบคุม 3. ขาดแคลนงบประมาณในการผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ 4. การบริการให้คำปรึกษา บางสถานที่ใช้เรือนพยาบาล คนไข้มาก ทำให้ไม่เป็นส่วนตัว ต้องการความเป็นส่วนตัว 5. มีภาระงานต้องทำมาก ทำให้การดำเนินกิจกรรมด้านเอดส์ล่าช้า 6. การเตรียมการในการจัดกิจกรรมอบรมแกนนำอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อน มีเวลาเตรียมการน้อยเกินไป 7. การจัดกิจกรรมการอบรมควรมีระยะเวลาประมาณ 2-3 วัน และเพิ่มกิจกรรมมากกว่าการนั่งฟังบรรยาย การดำเนินการต่อเนื่อง 1. จัดประชุมผู้รับผิดชอบเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทุกปี 2. การอบรมฟื้นฟู แกนนำเพื่อนช่วยเพื่อน อย่างต่อเนื่องทุกปี โดยพัฒนาให้แกนนำมีศักยภาพสูง 3. แกนนำมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นพี่เลี้ยง และรายงานผลการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์ ข้อเสนอแนะ: 1. กำหนดนโยบายให้สถานควบคุมทุกแห่งมีถุงยางอนามัยป้องกันโรคเอดส์ ออกกฎระเบียบหรือข้อบังคับให้เจ้าหน้าที่สามารถให้บริการถุงยางอนามัยในสถานควบคุมทุกแห่งเพื่อป้องกันการติดต่อโรคทางเพศสัมพันธ์ 2. กำหนดผู้รับผิดชอบงานในการวางแผนงานด้านโรคเอดส์ในสถานควบคุม โดยบูรณาการงานด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกัน 3. จัดแพทย์หมุนเวียนไปให้บริการตรวจรักษาในสถานควบคุมทุกแห่ง 4. จัดอบรมฟื้นฟูอาสาสมัครเพื่อนช่วยเพื่อนรุ่นเก่า เละเพิ่มเติมแกนนำรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพสูง 5. สนับสนุนงบประมาณในการจัดสื่อประชาสัมพันธ์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลิตสื่อที่ตรงกับสภาพปัญหาของแต่ละหน่วยงาน 6. จัดศึกษาดูงานหน่วยงานที่มีผลสัมฤทธิ์ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ได้สูงสุด th_TH
dc.description.sponsorship ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณพัฒนาจังหวัดชลบุรี ประจำปี พ.ศ. 2552 ภายใต้โครงการพัฒนากลไกบริหารจัดการด้านการควบคุมและป้องกันปัญหาเอดส์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา th_TH
dc.subject นักโทษ - - ไทย - - ชลบุรี th_TH
dc.subject โรคเอดส์ - - ไทย - - ชลบุรี - - วิจัย th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ th_TH
dc.title รายงานการวิจัยและพัฒนาระบบเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์จังหวัดชลบุรี กลุ่มผู้ต้องขังในเรือนจำ ทัณฑสถาน สถานฝึกงาน และสถานพินิจ th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2553


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account