กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9965
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorอนุรัตน์ อนันทนาธร
dc.contributor.authorสัจจพันธ์ สัจจารักษ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:36:20Z
dc.date.available2023-09-18T07:36:20Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9965
dc.descriptionงานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานี มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน จังหวัดปทุมธานี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ตำแหน่ง ระยะเวลาดำรงตำแหน่งรายได้และเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่มีความน่าเชื่อถือ (Reliability ) เท่ากับ 0.887 เก็บข้อ มูลจากสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานี จำนวนทั้งสิ้น 117 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ผลการศึกษาพบว่า 1. สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานีส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี มีระดับการศึกษา ม.6 ปวช. หรือเทียบเท่า มีสถานภาพโสด มีตำแหน่ง ชั้นยศตั้งแต่นายหมู่ตรีถึงนายหมู่เอก มีระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 5 – 10 ปี มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท 2. สมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานีมีแรงจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับมากเกือบทุกด้านเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านความสำเร็จในการทำงานส่วนบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด และคะแนนต่ำสุดคือด้านเงินเดือนอยู่ในระดับปานกลาง 3. ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า สมาชิกเพศชายมีแรงจูงใจ (μ = 3.94) มากกว่า เพศหญิง (μ = 3.92) สมาชิกที่มีอายุ 56 ปีขึ้นไป มีแรงจูงใจมากกว่าช่วงอายุอื่น (μ = 4.23) สมาชิกที่สำเร็จการศึกษาระดับ ม.6 / ปวช. หรือ เทียบเท่า มีแรงจูงใจมากกว่าการสำเร็จการศึกษาระดับอื่น (μ = 4.02) สมาชิกที่มีชั้นยศตั้งแต่นายหมู่ใหญ่ขึ้นไป มีแรงจูงใจมากกว่าตำแหน่งชั้นยศอื่น (μ = 4.04) สมาชิกที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง 16 – 20 ปีมีแรงจูงใจมากกว่าระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอื่น (μ = 4.37) สมาชิกที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท มีแรงจูงใจมากกว่าช่วงรายได้อื่น (μ = 3.95)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการจูงใจ (จิตวิทยา)
dc.subjectกองอาสารักษาดินแดน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชายุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.titleแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดนจังหวัดปทุมธานี
dc.title.alternativeWork motivtion mong membersof volunteer defense corps in pthumthni province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to examine work motivation among members of Pathum Thani Provincial Volunteer Defense Corps and to compare their level of work motivation as classified by personal information, including gender, age, educational level, work position, career path and amount of income and study guidelines for improving work motivation.The instrument used to collect the data was a questionnaire with a level of reliability of 0.887 The data were collected from 117 members of Pathum Thani Provincial Volunteer Defense Corps. The descriptive statistics used to collect the data included frequency, means, standard deviation. The results revealed that 1. Most respondents were male, between 26 -35 years old, single status, Education level Secondary 6/ Vocational certificate , position of major member Volunteer Defense Corps Lance Corporal - Volunteer Defense Corps Sergeant, having working period 5 – 10 years and having salary lower than 15,000 Baht 2. Overall , members of Pathum Thani Provincial Volunteer Defense Corps have opinion about working motivation in the high level. The most motivation dimension level was personal work success and the lowest mean score was salary 3. Based on the results from the comparisons, it was shown that male members had a higher level of work motivation (μ = 3.94) than their female counterparts (μ = 3.92). Members over the age of 56 had more motivation than other ranks (μ = 4.23). Members who has completed secondary school / vocational certificate or equivalent had more motivation than other ranks (μ = 4.02). Members with ranks volunteer defense corps sergeant major had more motivation than other ranks (μ = 4.04). Members with ranks 16 - 20 year’s experience had more motivation than other ranks (μ = 4.37). Members with incomes below 15,000 baht had more motivation than other ranges. (μ = 3.95)
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineยุทธศาสตร์และความมั่นคง
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920327.pdf5.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น