กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9941
ชื่อเรื่อง: เสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสำหรับสตรีสูงวัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Well-being fshion clothings for elderly women
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กาญจนา สือพงษ์
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
ฐิติมา พุทธบูชา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องแต่งกาย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
แฟชั่น
เสื้อผ้า
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสําหรับสตรีสูงวัย ทดลองพัฒนา และวิเคราะห์สมบัติของผ้า เพื่อนํามาทําเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นสําหรับสตรีสูงวัย และออกแบบและพัฒนารูปแบบเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ สําหรับสตรีสูงวัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านเสื้อผ้าแฟชั่น คือ สตรีสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60-79 ปี โดยเป็นสมาชิกในชมรมผู้สูงอายุข้าราชการ กรุงเทพมหานคร จํานวน 140 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละและเรียงลําดับ ด้านการทดลอง เพื่อเพิ่มสมบัติของผ้า ด้วยวิธีการจุ่มบีบอัดสาร (Padding method) ทําการศึกษาที่ 3 สภาวะ โดยใช้เกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ ปริมาณสารที่ 30, 40, 50, 60, และ 70 กรัมต่อลิตรอุณหภูมิที่ 130, 140, 150, 160, และ 170 องศาเซลเซียส และเวลาผนึกสารที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 นาที และด้วยวิธีการวิธีการจุ่มแช่ (Exhaustion method) ทําการศึกษาที่ 4 สภาวะ โดยใช้เกณฑ์ 5 ระดับ ได้แก่ ปริมาณสารที่ 30, 40, 50, 60, และ 70 กรัมต่อลิตรเวลาแช่สารที่ 10, 20, 30, 40, และ 50 นาที อุณหภูมิที่ 130, 140, 150, 160, และ 170 องศาเซลเซียส และเวลาผนึกสารที่ 1, 2, 3, 4, และ 5 นาที วิเคราะห์ข้อมูลตามมาตรฐานการทดสอบของผ้า AATCC/ASTM และการส่อง SEM ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประเมินด้านการออกแบบเสื้อผ้าเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ และบรรยาย ส่วนด้านความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อผ้าแฟชั่นเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ สําหรับสตรีสูงวัย ใช้วิธีการประเมินความพึงพอใจร่วมกับการสังเกตแบบมีส่วนร่วมกับสตรีสูงวัย จํานวน 40 คน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลของการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการด้านเสื้อผ้าแฟชั่น พบว่าสตรีสูงวัย ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมในการเลือกซื้อผ้าจากห้างสรรพสินค้า ความถี่ในการซื้อเสื้อผ้า คือ นาน ๆ ครั้ง (6-12 เดือน) โดยการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าจะพิจารณาจากความเหมาะสมของรูปร่าง ประเภทของเสื้อผ้าที่สตรีสูงวัยต้องการมากที่สุด คือ ชุดลําลอง มีรูปแบบตามสมัยนิยม ซึ่งต้องมีความสะดวกสบายในการสวมใส่ ใช้ผ้าพื้นสีโทนอ่อน มีลักษณะนุ่ม ต้านทานต่อการยับและต้านทานเชื้อแบคทีเรีย ผลการทดลองพัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของผ้าลินิน พบว่าจากผลการทดสอบสามารถ สรุปได้ว่าการใช้สารไกลออกซอลที่ปริมาณสาร 50 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิที่ใช้อบผนึกสาร 160 องศาเซลเซียส และเวลาในการอบผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุด ในการต้านทานต่อการยับของผ้าลินิน และการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ปริมาณสาร 30 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิที่ใช้อบผนึกสาร 150 องศาเซลเซียส และเวลาในการรีดผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิคการตกแต่งเพิ่มสมบัติของผ้าด้วยวิธีการจุ่ม บีบ อัดสารเข้าไปในผ้า และการใช้สารไกลออกซอลที่ปริมาณสาร 60 กรัมต่อลิตร อุณหภูมิที่ใช้รีดผนึกสาร 160 องศาเซลเซียส และเวลาในการรีดผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุด ในการต้านทานต่อ การยับของผ้าลินินและการใช้อนุภาคนาโนซิงค์ออกไซด์ที่ปริมาณสาร 30 กรัมต่อลิตร เวลาแช่สาร 30 นาที อุณหภูมิที่ใช้รีดผนึกสาร 150 องศาเซลเซียส และเวลาในการรีดผนึกสาร 3 นาที เป็นสภาวะที่ดีที่สุดในการต้านทานเชื้อแบคทีเรียด้วยเทคนิคการตกแต่งเพิ่มสมบัติของผ้าด้วยวิธีการจุ่มแช่ (Exhaustion method) และผ้าลินินที่ผ่านการผนึกด้วยสารไกลออกซอลกับอนุภาคนาโน ซิงค์ออกไซด์ ด้วยวิธีจุ่ม บีบ อัดสารเข้าไปในผ้า และด้วยวิธีจุ่มแช่ ทําให้การต้านทานต่อการยับของผ้าลินินดีขึ้นและสามารถต้านทานเชื้อแบคทีเรีย Klebsiella pneumoniae (แกรมบวก) และ Staphylococcus aureus (แกรมลบ) ภายหลังการซักที่ 10 รอบ และ 20 รอบ ได้มากกว่า 90% ผลของการออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นสําหรับสตรีสูงวัย พบว่า รูปแบบที่ 2 ของเสื้อแขนสั้น เสื้อแขนสี่ส่วน เสื้อแขนห้าส่วน เสื้อแขนยาว ได้รับการคัดเลือกมากที่สุดจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนแบบกางเกง พบว่า กางเกงขาสามส่วนรูปแบบที่ 1 กางเกงขาสี่ส่วนรูปแบบที่ 3 กางเกงขาห้าส่วนรูปแบบที่ 3 และกางเกงขายาวรูปแบบที่ 1 ได้รับการคัดเลือกมากที่สุดจากผู้เชี่ยวชาญ และด้านความพึงพอใจที่มีต่อเสื้อผ้าแฟชั่นต้นแบบ พบว่า เสื้อแบบที่ 1 (x = 4.36) เสื้อแบบที่ 2(x = 4.48) เสื้อแบบที่ 4 (x = 4.12) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และเสื้อแบบที่ 3 (x = 4.53) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนกางเกงแบบที่ 1 (x = 4.23) กางเกงแบบที่ 2 (x = 4.43) กางเกงแบบที่ 3 (x = 4.38) และ 4 (x = 4.45) ได้รับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และจากการสังเกตพบว่า สตรีสูงวัยสามารถสวมใส่เสื้อแบบที่ 1, 2 และ 3 และกางเกงแบบที่ 2, 3 และ 4 ได้อย่างสะดวก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9941
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810069.pdf104.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น