กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9931
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.advisorนันทพร ภัทรพุทธ
dc.contributor.authorชานนท์ สุจิตวนิช
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:36:10Z
dc.date.available2023-09-18T07:36:10Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9931
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความปลอดภัย และเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความปลอดภัยก่อน และหลังการประยุกต์ใช้กระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐาน Behavior-Based Safety (BBS) ของคนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยในบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ใช้เวลาในการดำเนินการ 10 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) แต่งตั้งคณะทำงาน 2) ฝึกอบรม 3) ค้นหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย 4) กำหนดพฤติกรรมเป้าหมาย 5) สังเกตพฤติกรรม 6) ทำการบังคับเชิงบวกเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และแบบสังเกตพฤติกรรม ผลการศึกษาพบว่า คนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษา เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.0 อายุเฉลี่ย 40.16 ปี (SD ±9.485) ส่วนมากจบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 44.0 มีประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานในงานก่อสร้างอยู่ในช่วง 1.1 – 20 ปี อายุงานเฉลี่ย 8.84 ปี (SD ±5.375) ส่วนใหญ่ทำงานก่อสร้างทั่วไป ร้อยละ 92.0 ไม่มีประวัติการประสบอันตรายจากการทำงาน หรืออุบัติเหตุในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาจากการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยพบว่า คนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษาสามารถปฏิบัติพฤติกรรมความปลอดภัยได้ร้อยละ 100 ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ในเรื่องการสวมใส่แว่นตานิรภัยและหน้ากากกรองฝุ่น สัปดาห์ที่ 6 ในเรื่องการสวมใส่หมวกนิรภัย และรองเท้านิรภัย และสัปดาห์ที่ 8 ในเรื่องการใส่อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูงก่อนการวิจัยคนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษาส่วนมากมีระดับพฤติกรรมความปลอดภัยในระดับดี ร้อยละ 40.0 และระดับที่ต้องปรับปรุง ร้อยละ 60.0 หลังจากประยุกต์ใช้กระบวนการ BBS แล้วพบว่าคนงานก่อสร้างที่ทำการศึกษา มีระดับความพฤติกรรมความปลอดภัย ในระดับดีเป็นร้อยละ 100.0 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p<0.001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า กระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐานสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้างในบริษัทรับเหมาก่อสร้างได้หากนำกระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐานมาประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องคนงานก่อสร้างก็จะเกิดความเคยชิน และปฏิบัติตนเองเป็นอัตโนมัติ ทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความปลอดภัยในงานก่อสร้าง
dc.subjectคนงานก่อสร้าง -- ปทุมธานี
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.titleผลของการใช้กระบวนการสร้างความปลอดภัยโดยใช้พฤติกรรมเป็นฐานต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยในบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
dc.title.alternativeThe effects of behvior-bsed sfety (bbs) process to sfety behvior of construction workers in construction contrctor compny t the electricl substtion construction project in pthumthni province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study was a one group quasi - experimental research. The objectives were to explore safety behavior levels and compare them before and after the implementation of Behavior-Based Safety (BBS) process among electrical substation construction workers in a construction company in Pathumthani Province. The ten weeks intervention process consisted of 1) establishment of BBS committee 2) training 3) identify unsafe behaviors 4) setting target behaviors 5) behavior observation 6) positive reinforcement. Data were collected by questionnaires and observation. The results of the study revealed that most of the participants were male (68.0%), with an average age of 40.16 years old (SD ±9.485). The finished secondary education (44.0%). Working experience ranged from 1.1 -20 years, with an average of 8.84 years (SD ±5.375). The majority were general workers (92.0%) with no history of occupational injuries or accidents during the past 3 months. According the observations, the participants showed a 100 percent safe behavior in terms of wearing eye and respiratory protections in the 5th week, hard hat and safety shoes in the 6th week, and fall protection in the 8th week. Before implementation of BBS, safety behavior was 40.0% good, and 60.0% in need of improvement. After implementation of BBS, safety behavior was 100.0% good. The improvement was significant at 0.01 (p<0.000). Based on the results of this study, BBS process could improve safety behaviors among the construction workers in the construction contracting company. If the behavior-based safety building process is applied continuously, construction workers will become accustomed. Do act automatic to build a safety culture in the organization.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920189.pdf1.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น