กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9776
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorปาจรีย์ อับดุลลากาซิม
dc.contributor.advisorนิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.authorสิริวรรณ ธรรมคงทอง
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:12:48Z
dc.date.available2023-09-18T07:12:48Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9776
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นปัจจัยทางสาธารณสุขที่สำคัญ ส่งผลให้เกิดอาการปวดเข้า ข้อฝืด ทำให้การทำหน้าที่ของข้อเข่าลดลง เมื่อผู้ป่วยอาการกำเริบ จะทำให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อและจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานและคุณภาพชีวิตลดลง การศึกษานี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดต่อความสามารถการใช้งานข้อและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โดยประยุกต์ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างมีอายุ 50-65 ปี ผ่านคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบได้รับโปรแกรมออกกำลังกายตามปกติ กลุ่มตัวอย่างได้รับการประเมินก่อนการทดลองและหลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 6 โดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นตามกรอบทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย ส่วนแบบประเมินความสามารถการใช้งานข้อ ประเมินก่อนการทดลองทุกสัปดาห์ รวม 6 ครั้ง และทดสอบองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่า ด้วยเครื่อง Goniometer ก่อนและหลังการทดลองทุกสัปดาห์ รวม 12 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Independent t-test, สถิติ Paired Sample t-test, สถิติทดสอบ Repeated measures ANOVA ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังให้โปรแกรมกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยของแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ความสามารถการใช้งานข้อ ระดับอาการปวด อาการข้อฝืด ความสามารถการใช้งานข้อเข่า มีค่าเฉลี่ยลดลงกว่าก่อนการทดลอง และลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) และมีองศาการเคลื่อนไหวข้อเข่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ในขณะที่พฤติกรรมการออกกำลังกาย ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) อย่างไรก็ตามค่าเฉลี่ยของพฤติกรมการออกกำลังกายระหว่างกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ สรุปได้ว่าโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผนยางยืด เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการออกกำลังกาย ซึ่งส่งผลดีต่อความสามารถการใช้งานข้อและการเคลื่อนไหวข้อเข่า และสามารถบูรณาการโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดนี้ร่วมกับการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการออกกำลังกายตามปกติของสถานพยาบาลได้ต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
dc.subjectการออกกำลังกาย -- เครื่องมือและอุปกรณ์
dc.subjectการออกกำลังกาย
dc.titleผลของโปรแกรมออกกำลังกายด้วยแผ่นยางยืดต่อความสามารถการใช้งานข้อและการเคลื่อนไหวข้อเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม
dc.title.alternativeEffect of exercise progrm using ther-bnd on joint bility nd joint mobility in ptient with knee osteorthritis
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeKnee osteoarthritis is important public health problem. Knee osteoarthritis often have knee pain, stiffness and decrease joint function. When patient have more execerbations, their muscle weak and limited range of motion of knee and the patient are corroded and decrease quality of life. The purpose of this quasi-experimental design research was to study the effect of exercise program by using thera-band on joint ability and joint mobility in patient with knee osteoarthritis by the application of Health Belief Model and Social Support. The samples were 40 participants with knee osteoarthritis, aged 50-65 years old. Patient were divided into two groups, with 20 patient in each experimental group and comparison group. The experimental group received the exercise program using thera-band while the comparison group received routine exercise program. Research instruments including the developed questionnaire based on Health Belief Model and Social Support Theory and Exercise behavior questionnaire, the Modified WOMAC Thai index questionnaire was also used to assess participant at pre-test ever weeks (6 times) and Range of motion (ROM) of knee by Goniometer assessment was also ever weeks (12 times) used at pre-test and post-test. Data were analyzed by using Independent t-test, Paired Sample t-test, and Repeated measures ANOVA. The result of this study, After program the experimental group had significanthy increased mean score of Health belief model and Social support score as compared to pre-test and the comparison group (p<0.001), the Modified WOMAC Thai index showed significantly decrease mean score pain, WOMAC-Pain, WOMAC-Stiff, WOMAC-Function in pre-test and comparison group (p<0.001) and significantly difference in ROM (p<0.001) While exercise behavior were not significantly (p<0.05) between the experimental group and comparison group. However, the mean score of exercise behavior in the exercise behavior in the experimental group increase more than in the comparison group. Result indicate the exercise program using thera-band had some positive effect and management may be a better choice for exercise treatment on joint ability and joint mobility for patient with knee osteoarthritis. Able to integrate the exercise program using theraband with exercise treatment for patient with knee osteoarthritis of the hospital.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920300.pdf100.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น