กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9665
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
dc.contributor.advisorสุปราณี ธรรมพิทักษ์
dc.contributor.authorศิวัสสา จันโท
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
dc.date.accessioned2023-09-18T07:09:21Z
dc.date.available2023-09-18T07:09:21Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9665
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) เพื่อศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 5) เพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จังหวัดจันทบุรีโดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริหารทุกระดับภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี (เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล) จํานวนทั้งสิ้น 754 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Schumacker and Lomax ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ หลังจากนั้นทําการสุ่มตัวอย่างอยย่างง่ายจนครบตามจํานวนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM-structural equation model) โดยโปรแกรมสําเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีกับข้อมูลเชิงประจักษ์และศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงรวมถึงใช้เทคนิคการวิเคราะห์กลุ่มพหุ (Multiple group analysis) ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับดีมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีพบว่าปัจจัยด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงมี 4 องค์ประกอบได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ การสร้างความตระหนักถึงความสําคัญในการเปลี่ยนแปลง การสร้างการมีส่วนร่วมและการรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ในองค์การ ส่วนปัจจัยด้านภาวะผู้นํามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ การคํานึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และปัจจัยด้านการสื่อสารในองค์การมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ช่องทางการสื่อสาร เนื้อหาข่าวสาร ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับสาร และสุดท้ายปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การมุ่งเน้นความสําเร็จ การทํางานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์ และการให้ความสําคัญแก่ บุคคล นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) ปัจจัยภาวะผู้นําโดยปัจจัยภาวะผู้นํามีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังมีอิทธิพลทางตรงต่อการสื่อสารในองค์การและวัฒนธรรมองค์การ นอกจากนี้ภาวะผู้นํายังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านการสื่อสาร ในองค์การและส่งผ่านวัฒนธรรมองค์การ นอกจากนี้ภาวะผู้นํายังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อวัฒนธรรมองค์การโดยส่งผานการสื่อสารในองค์การอีกด้วย 2) ปัจจัยการสื่อสารในองค์การโดยปัจจัยการสื่อสารในองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การและยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านวัฒนธรรมองค์การ 3) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การโดยปัจจัยวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง 3. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง กลมกลืน ดังนี้  2 = 98.786, df = 81, p-value = 0.087, CFI = 0.995, TLI = 0.993, RMSEA = 0.023, SRMR = 0.027 และ  2 /df = 1.219 4. ผลการวิเคราะห์น้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า ด้านอิทธิพลทางตรงปัจจัยภาวะผู้นํา , การสื่อสารในองค์การ, วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ระดับ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์ขนาด อิทธิพลของภาวะผู้นํา 0.331 (p < 0.01) การสื่อสารในองค์การ 0.102 (p < 0.01) และวัฒนธรรม องค์การ 0.473 (p < 0.01) กล่าวคือปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ วัฒนธรรมองค์การ รองลงมาคือ ภาวะผู้นํา และน้อยที่สุดคือการสื่อสารในองค์การ และด้านอิทธิพลทางอ้อม พบว่า ภาวะผู้นําและการสื่อสารในองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านวัฒนธรรมองค์การอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพล 0.340 และ 0.095 ตามลําดับ และภาวะผู้นํายังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านการสื่อสารในองค์การอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.078 นอกจากนี้ ยังพบว่า ด้านอิทธิพลโดยรวมที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมสูงสุดโดยมีค่า 1.419 (p < 0.01) เมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลโดยรวมที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง พบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นํา มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมสูงสุดโดยมีค่า 0.749 (p < 0.01) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.473 (p < 0.01) และปัจจัยด้านการสื่อสารในองค์การ มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.197 (p < 0.01) เป็นอันดับสุดท้าย กล่าวคือปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดคือ ปัจจัยภาวะผู้นํา รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การ และน้อยที่สุดคือ การสื่อสารในองค์การ 5. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี มีความไม่แปรเปลี่ยน โดยทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบลมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่ขนาดน้ำหนักที่มีอิทธิพลในโมเดลต่างกันเพียงเล็กน้อย สามารถนําไปใช้ได้ทั้งในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบล
dc.language.isoth
dc.publisherวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย -- จันทบุรี
dc.subjectการปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- จันทบุรี
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.titleรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
dc.title.alternativeA model of chnge mngement for locl dministrtive orgniztion in chntburi province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were: 1) to explore the level of change management in Chantaburi’s local administrative organization; 2) to develop a structural equation model of change management in Chantaburi’s local administrative organization; 3) to test the consistency of the developed model with the empirical data; 4) to explore the direct, indirect and total influences effecting change management in Chantaburi’s local administrative organization, and; 5) to test the invariance of the model of change management between municipality and subdistrict administrative organizations. The populations used in this research were all levels of the 754 administrators in local administrative organization in Chantaburi province (municipality and sub-district administrative organization). A Sample of 400 participants (defined using Schumacker and Lomax) was selected using a stratified random sampling technique, while participants from each organization were randomly selected by simple random sampling. A questionnaire was used to collect the data for this study. The statistics used for data analysis were descriptive statistics and statistical analysis used SEM -Structural Equation Model Analysis with Mathematical software packages for inspecting the consistency of the developed model with the empirical data and for exploring the direct, indirect and total influences effecting change management in Chantaburi’s local administrative organization. The Multiple Group analysis with Mathematical Software Package for tested the invariance of the model of change management between municipality and sub-district administrative organization. The findings were as follows: 1. The overall implementation of change management in Chantaburi’s local administrative organization was at the highest level. 2. The change management model developed for Chantaburi’s local administrative organization contained: 1) a change management factor composed of 4 parts, namely: creating vi sion, creating a sense of urgency, creating participation and institutionalizing change; 2) a leadership factor which was composed of 4 components, namely: inspirational motivating, individualized consideration, intellectual stimulation and idealized influence; 3) an organizational communication factor composed of 4 parts; channel, message, sender and receiver; 4) an organizational culture factor composed of 4 parts; achievement orientation, team work orientation, creative thinking orientation and humanistic orientation. Furthermore, there were 3 factors influencing change management: 1) leadership had direct influence on change management, organizational communication and organizational culture. Moreover, leadership had indirect influence on change management which was also influenced by organizational communication and organizational culture and it indirectly influenced organizational culture which was additionally influenced by organizational communication; 2) organizational communication was directly influenced by change management and organizational culture, and indirectly influenced by change management which was itself influenced by organizational culture; 3) organizational culture was directly influenced by change management. 3. The model fit with the empirical data with  2 = 98.786, df = 81, p-value = 0.087, CFI = 0.995, TLI = 0.993, RMSEA = 0.023, SRMR = 0.027 and  2 /df = 1.219 4. The factor with the highest direct effect on change management (with the level of statistical significance set at 0.01) was organizational culture with the effect size of 0.473 (p < 0.01). Next was leadership and organizational communication with the effect size of 0.331 (p < 0.01), and 0.102 (p < 0.01). The factors with indirect effects on change management (with the level of statistical significance set at 0.01) were leadership and organizational communication which were impacted by organizational culture with the effect size of 0.340 and 0.095, respectively. Likewise, the factors with the highest total effects on change management (with the level of statistical significance set at 0.01) were leadership, with the effect size of 0.749 (p < 0.01), and next was organizational culture and organizational communication with the effect size of 0.473 (p < 0.01), and 0.197 (p < 0.01). 5. The model of change management developed by the researcher showed invariance between municipalities and sub-district administrative organizations. The factors that influenced Chantaburi’s local administrative organization in the causal model of municipalities and subdistrict administrative organizations were the same but the parameters were a little varied. The model can be used both municipalities and sub-district administrative organizations.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineรัฐประศาสนศาสตร์
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810038.pdf5.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น