กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9285
ชื่อเรื่อง: ผลของการออกกำลังกายแบบมีช่วงพักและแบบต่อเนื่องต่อการควบคุมความดันโลหิตของประสาทอัตโนมัติและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of intermittent and continuous exercise on autonomic nervous control of blood pressure and renal function in Thai elderly with hypertension
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยะพงษ์ ประเสริฐศรี
อรชร บุญลา
จตุพร เพิ่มทรัพย์ทวี
เพชรรัตน์ ตรงต่อศักดิ์
กนกนุช นรวรธรรม
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย
ความดันเลือดสูง - - วิจัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิตของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ก่อนและหลังได้รับการฝึกออกกำลังกาย และเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการควบคุมความดันโลหิตของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจและการทำงานของไตในคนไทยสูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง หลังได้รับการฝึกออกกำลังกายแบบมีช่วงพักและแบบต่อเนื่อง ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยเป็นผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 47 คน เป็นเพศชาย 10 คน และเพศหญิง 37 คน มีอายุ 70.60 ± 5.66 ปี มีดัชนีมวลกาย 23.84 ± 3.13 กิโลกรัม/ตารางเมตร มีระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัว 129.38 ± 14.90 และ 75.72 ± 7.51 มิลลิเมตรปรอท ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มโดยวิธีการสุ่ม ประกอบด้วยกลุ่มฝึกเดินออกกำลังกายแบบต่อเนื่อง จำนวน 24 คน และกลุ่มฝึกเดินออกกำลังกายแบบมีช่วงพัก จำนวน 23 คน กลุ่มฝึกเดินแบบต่อเนื่องได้รับโปรแกรมการเดินวันละ 30 นาทีต่อเนื่อง สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 3 เดือน ส่วนกลุ่มฝึกเดินแบบมีช่วงพักได้รับโปรแกรมการเดินวันละ 30 นาที โดยเป็นการเดินครั้งละ 10 นาที จากนั้นนั่งพัก 1 นาที และทำซ้ำเช่นนี้จำนวน 3 รอบ ใช้เวลาในการออกกำลังกายวันละ 32 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน เป็นเวลา 3 เดือน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยได้รับการตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย ระดับความดันโลหิต ความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งประเมินจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Lead II การทำงานของไต ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และภาวะเครียดออกซิเดชันในเลือด ผลการศึกษาพบว่าหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มฝึกเดินแบบต่อเนื่องมีความยาวรอบเอว ความยาวรอบสะโพก ระดับ triglyceride ในเลือด สัดส่วนของ total cholesterol/high-density lipoprotein-cholesterol (HDL-C) ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และระดับสารอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย oxidized glutathione (GSSG) และ malondialdehyde (MDA) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีระดับ HDL-cholesterol และระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย total glutathione และ reduced glutathione (GSH) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนกลุ่มฝึกเดินแบบมีช่วงพักมีร้อยละของไขมัน มวลไขมัน ความยาวรอบเอว ไขมันในช่องท้อง ระดับความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว ระดับความต่างของความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ ความต้องการใช้ออกซิเจนของกล้ามเนื้อหัวใจ ค่า low frequency power ซึ่งสะท้อนการทำงานของระบบประสาทซิมพาเธติกของหัวใจ ระดับ glucose และระดับสารอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย GSSG และ MDA ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีร้อยละของมวลปราศจากไขมัน ร้อยละของน้ำในร่างกาย และระดับสารต้านอนุมูลอิสระในเลือด ซึ่งประกอบด้วย total glutathione และ GSH เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการเดินออกกำลังกายแบบต่อเนื่องและแบบมีช่วงพักเป็นประจาให้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกัน โดยการเดินแบบต่อเนื่องเป็นประจำช่วยให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงมีไขมันสะสมในร่างกาย ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง และภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง และมีระดับไขมันในเลือดดีขึ้น ส่วนการเดินแบบมีช่วงพักเป็นประจำช่วยให้มีระดับความดันโลหิต ไขมันสะสมในร่างกาย ระดับน้ำตาลในเลือด และภาวะเครียดออกซิเดชันลดลง และมีองค์ประกอบของร่างกาย และการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติของหัวใจดีขึ้น โดยการเดินออกกาลังกายทั้งสองแบบไม่มีผลต่อการทำงานของไต แต่การเดินแบบมีช่วงพักมีแนวโน้มทำให้การทำงานของไตดีขึ้นได้มากกว่าการเดินแบบต่อเนื่อง
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9285
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2567_015.pdf1.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น