กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/922
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T08:54:52Z
dc.date.available2019-03-25T08:54:52Z
dc.date.issued2556
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/922
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง โดยมีการประเมินการรับการสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbon ซึ่งตรวจวัดปริมาณระดับความเข้มข้นของสาร Aromatic Hydrocarbon ในบรรยากาศและ metabolites รวมถึงอาการแสดง เพื่อนำมาประเมินผลกระทบต่อสุขภาพโดยจำนวนตัวอย่างทั้งหมดในการศึกษามี 253 คน แบ่งเป็นกลุ่มศึกษา 123 คนและกลุ่มควบคุม 130 คน กลุ่มศึกษามีอายุเฉลี่ย 44.44 ปี และ 34.18 ปี สำหรับกลุ่มควบคุม กลุ่มศึกษามีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่สำนักงานเขต นาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 93.5 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 57.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้งเพียงร้อยละ 13.0 โดยที่ส่วนใหญ่ มีการใช้ผ้าปิดจมูก ร้อยละ 97.9 และรู้จักอันตรายจากการสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbon เพียงร้อยละ 10.6 เท่านั้น เมื่อสิ้นสุดการทำงานของกลุ่มศึกษา พบว่า ตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 70 ที่ตอบว่า มีการเจ็บป่วยและอาการแสดงที่เป็นบางครั้งรวมกับบ่อย ๆ เกี่ยวกับการรู้สึกเมื่อยล้าเฉพาะแขนขา เมื่อยล้าทั่วร่างกาย, ปวดข้อเข่าและปวดศรีษะ ในการเก็บตัวอย่างอากาศใช้ Oqganic Vapor Monitor (3M 3500) ติดตัวบุคคลในระดับการหายใจของกลุ่มศึกษา พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย+- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Toluene 544.04+-318.77 ug/m3, Xylene 1,456.06+-237.83 ug/m3 และ Ethyl benzene 298.57 +- 257.97 ug/m3 และมีการเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน พบว่า กลุ่มศึกษามีค่าเฉลี่ย +- ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ Hippuric acid 255.18+- 310.79 mg/g creatinine และ Methylhippuric acid 10.00 +-21.12 mg/g creatinine นอกจากนี้เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของปริมาณระดับความเข้มข้นของ Toluene ในบรรยากาศ และ Hippuric acid ในปัสสาวะ (หลังสิ้นสุดการทำงาน) ระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.010 และ p=0.035 ตามลำดับ) จากผลการศึกษานี้ทำให้ตระหนักได้ว่า พนักงานเก็บกวาดขยะมีการสัมผัสสาร Toluene, Xylene และ Ethyl benzene ในขณะปฏิบัติงานและควรจัดให้มีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจถึงอันตรายและวิธีการป้องกันรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป This research was a cross sectional study. The objectives were to evaluate aromatic hydrocarbon exposure, metabolites and symptoms among road sweepers. We sampled 253 persons; 123 cases who worked as road sweepers and 130 as a controllers. Mean of age of the cases was 44.44 years, controller mean age was 34.18 years. Ninety three point five percent of the case group worked at least 8 hours per day, 6 days per week (57.0%) and about thirteen percent always used respiratory protection; however, most of them used only cotton masks (97.9%). Ten point six percent of the cases knew about the hazardous of aromatic hydrocarbon. When they finished working, more than 70% of the case showed symptoms including body fatigue, fatigue only arms and legs, knee pain and headache. In collecting the air samples a personel "Organic Vapor Monitor (3M 3500)" was attached to the shirt in front of the chest level of the cases. Results of the study group showed average +- SD measures of Toluene 544.04+-318.77 ug/m3, Xylene 1,456.06+-237.83 ug/m3 and Ethyl benzene 298.57+-25797 ug/m3. Urine samples were collected after the work shift. Resilts of urine samples showed average+- SD of Hippuric acid 255.18 +- 310.07 mg/g creatinine and Methylhippuric acid 10.00+-21.12 mg/g creatinine. The average comparison of concentration of Toluene and Hippuric acid in urine were significantly different between the study and control groups at level 0.05 (p=0.010 and p= 0.035, respectively). The subjects of this study were road sweepers; nevertheless we should be concerned about their exposure to Toluene, Xylene and Ethyl benzene while working and there should organizing the training in order to gain the knowledhe and understanding the hazard and the protection. Furthemore, they should be recommended about the use of the correct and suitable respiration protective equipment.th_TH
dc.description.sponsorshipโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก งบประมาณรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectพนักงาน - - สุขภาพและอนามัยth_TH
dc.subjectระบบทางเดินหายใจth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและอาการแสดงจาการสัมผัสสาร Aromatic Hydrocarbon ของพนักงานเก็บกวาดขยะในเขตกรุงเทพมหานคร (ศึกษาเปรียบเทียบที่สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร)th_TH
dc.title.alternativeHealth impact assessment and symptoms exposure to aromatic hydrocarbon among the road sweepers in Bangkok metropolitan (comparative study at the district office of Bangkok metropolitan)en
dc.typeงานวิจัย
dc.year2556
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น