กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9221
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมศิริ สิงห์ลพ
dc.contributor.advisorปริญญา ทองสอน
dc.contributor.authorชุลีพร สุระโชติ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T09:02:44Z
dc.date.available2023-06-06T09:02:44Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9221
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (กศ.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 3) เพื่อประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 2) แบบทดสอบความรู้การจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 3) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ 5) แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 6) แบบวัดเจตคติที่มีต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) 7) แบบประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชน แห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) ที่ประกอบด้วย เหตุผลและความสำคัญ หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมาย ของหลักสูตร โครงสร้าง/ เนื้อหา แนวคิดและทฤษฎี กระบวนการพัฒนาครู กิจกรรมการฝึกอบรม สื่อประกอบ การอบรม การประเมินผลหลักสูตร และเอกสารประกอบการอบรม โดยการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก 2) หลักสูตรมีคุณภาพตามเกณฑ์ จากผลการประเมินผู้เข้ารับการอบรม คือ (2.1) ความรู้ของครูในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2.2) ความสามารถของครูในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้ ในภาพรวมอยู่ในระดับดี และความสามารถของครูในการปฏิบัติกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2.3) เจตคติของครูที่มีต่อการพัฒนา การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC) อยู่ในระดับมาก ทุกข้อ 3) การประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อยู่ในระดับมากทุกข้อ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการศึกษา -- หลักสูตร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ (PLC)
dc.title.alternativeCurriculum development on lerning mngement for the 21st century using professionl lerning community pproch
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to; 1) develop curriculum, using PLC for the learning in 21st century, 2) study the results of the implementation, 3) Assess, the curriculum . The research subject, were 30 teachers selected by stratified random sampling from schools in Lopburi Primary Euducation Service Area 2. The research instruments comprised of ; 1) curriculum on learning management for the 21st century using professional learning community approach. (PLC), 2) a test to assess the knowledge of the teachers on the learning management, 3) assessment plan for learning management, 4) learning management skill test, 5) practice skill test of professional learning community appoach. (PLC), 6) an attitude test towards for learning management for the 21st century using professional learning community approach. (PLC), and 7) assessment of the curriculum form the statistics used in data analysis were mean, standard deviation, and t-test. The research findings were: 1) The curriculum on learning management for the 21st century using professional learning community appoach (PLC), comprised of; Rationale, principles, curriculum objectives, structure, content and theory, training activities, learning materials, assessment and evaluation, training schedule, and curriculum manual. Curriculum elements showed the quality at a high level (2) The curriculum possessed a high quality. The results of the implementation shows that (2.1): the subjects’ knowledge of teacher on learning management for the 21st century using professional learning community appoach. (PLC) was higher than before training with statistical significant at .05 (2.2) The teaching design skill of the teachers in general, is at high level. Teaching skills of the teachers in general, is at a good level. The knowladge of professional learning community approach. (PLC), in general, it is at high level. (2.3) the teachers attitude toward development of learning management for the 21st century using professional learning community approach. (PLC) is at the high level in every item. 3) the assessment of curriculum on learning management for the 21st century using professional learning community appoach (PLC) was at the high level in every item.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810207.pdf2.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น