กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9219
ชื่อเรื่อง: ความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษา :?bกระบวนการสร้างมโนทัศน์ การวัด และการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Digital intelligence for high schools students: Conceptualization, measurement and analysis of change
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์
เสกสรรค์ ทองคำบรรจง
ทิพวัลย์ อัตถาหาร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ปัญญา -- การทดสอบ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
นักเรียนมัธยมศึกษา -- การทดสอบ
ความคิดรวบยอด
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้ทำการศึกษาการแพร่กระจายของเมตาบอไลท์ของเอนโดซัลแฟนโดยใช้เทคนิคเชิงนิวเคลียร์ ซึ่งมีคาร์บอน -14 เอนโดซัลแฟนซัลเฟต และคาร์บอน-14 เอนโดซัลแฟนไดออลเป็นตัวติดตามระบบนิเวศนาข้าวจำลองทำด้วยท่อซีเมนต์จำนวน 3 ท่อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 เซนติเมตร ใส่ดินรังสิตลงในระบบนิเวศนาข้าวจำลองให้มีความสูงจากพื้น 20 เซนติเมตร เติมน้ำลงไปและรักษาระดับน้ำสูงจากผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตร เลี้ยงหอยเชอรี่ จากนั้นใส่สารคาร์บอน-14 เอนโดซัลแฟนซัลเฟตและคาร์บอน-14 เอนโดซัลแฟนไดออล ไปยังระบบนิเวศนาข้าวจำลอง ปลูกข้าวพันธุ์สุพรรณบุรี 1 และเก็บเกี่ยวข้าว เป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 132 วัน จึงวิเคราะห์คาร์บอน-14 เอนโดซัลแฟนและคาร์บอน-14 เอนโดซัลแฟนไดออลที่มีในตัวอย่างน้ำ, ตัวอย่างหอยเชอรี่ที่ตาย, ตัวอย่างต้นข้าว และ ตัวอย่างดิน ในตัวอย่างน้ำ พบว่า มีการลดลงของเอนโดซัลแฟนซัลเฟตและเอนโดซัลแฟนไดออลภายใน 1 วัน ลดลงเพียง 1.25 และ 17.52 เปอร์เซ็นต์ ของสารเริ่มต้น ตามลำดับ หลังจากนั้นปริมาณของเอนโดซัลแฟนซัลเฟตและเอนโดซัลแฟนไดออลเริ่มคงที่ในวันที่ 75 และวันที่ 3 หลังการใส่สารคิดเป็น 0.24 และ 11.79 เปอร์เซ็นต์ ของสารเริ่มต้น ตามลำดับ เมื่อพิจารณาการแพร่กระจายของเมตาบอไลท์ของเอนโดซัลแฟนทั้งสองชนิด พบว่า เอนโดซัลแฟนซัลเฟตมีการแพร่กระจายในน้ำน้อยกว่าเอนโดซัลแฟนไดออล สำหรับปริมาณของเอนโดซัลแฟนซัลเฟตในหอยเชอรี่ทีตาย พว่า มีการลดลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันในน้ำ แต่ ปริมาณของเอนโดซัลแฟนไดออลในหอยเชอรี่นั้น พบว่า มีค่าเปลียนแปลงเล็กน้อย ปริมาณของเมตาบอไลท์ทั้งสอง เท่ากับ 0.07 และ 0.89 เปอร์เซ็นต์ ของสารเริ่มต้น ตามลำดับ ปริมาณของเอนโดซัลแฟนซัลเฟตในต้นข้าว มีค่าเพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของต้นข้าว เท่ากับ 3.73 เปอร์เซ็นต์ ของสารเริ่มต้น หลังการใส่สาร 132 วัน สำหรับในดิน พบว่า การแพร่กระจายของเอนโดซัลแฟนซัลเฟตและเอนโดซัลแฟนไดออล มีค่าใกล้เคียงกัน พบในปริมาณ เท่ากับ 73.68 และ 72.88 เปอร์เซ็นต์ ของสารเริ่มต้น ตามลำดับ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปริมาณเปอร์เซ็นต์หลังการใส่สารรวมของเอนโดซัลแฟนและเอนโดซัลแฟนไดออลที่แพร่กระจายในทุกตัวอย่าง คิดเป็น 93.42 และ 90.68 เปอร์เซ็นต์ ของสารเริ่มต้น ตามลำดับ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9219
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810179.pdf17.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น