กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9181
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A development of n instructionl model for developing self-esteem of mtthyomsuks 2studentsin eductionl opportunity expnsion schools t estern economic corridor: eec
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีพร อนุศาสนนันท์
ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
สมทรง โปปัญจมะกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: นักเรียนมัธยมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
การพัฒนาตนเอง
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนา การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจ 2) พัฒนาแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ 3) พัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น (Needs assessment) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ จำนวน 430 คน โดย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความความต้องการจำเป็นในพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ จำนวน 60 คน โดยใช้แบบแผน การทดลองสองกลุ่มสุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Randomized control-group pretest-posttest-only design) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และคู่มือครูผู้สอน เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยนี้ ได้แก่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน การทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ AMOS ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ได้แก่ ด้านการมีความสามารถ (PNImodified = .35) ด้านการมีอำนาจ (PNImodified = .33) ด้านการมีความสัมพันธกับบุคคลอื่น (PNImodified = .33) ด้านครอบครัว (PNImodified = .32) ด้านการมีความสำคัญ (PNImodified = .31) ด้านการมีคุณความดี (PNImodified = .31) 2. การพัฒนาแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติบ่งชี้คือ = 194.338, df = 108, p-value = 0.00, GFI = .952, AGFI = .924, RMSEA = .043, CFI = .967 3. รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Identify instructional goals) 2) การออกแบบการเรียนการสอน (Design) 3) การทดลองการเรียนการสอน (Implementation) 4) การประเมินผล (Evaluation) โดยมี กระบวนการเรียนการสอนสำคัญ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ (Presentation) ขั้นเรียนรู้ (Learn) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share) ขั้นสร้างความรู้ (Construction) และขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลการใช้รูปแบบ มีดังนี้ ผู้เรียนมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9181
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810149.pdf2.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น