กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9180
ชื่อเรื่อง: การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sexul wellbeing promotion for risk femle dolescent
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
วรวุฒิ เพ็งพันธ์
จุฑาวดี กมลพรมงคล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: วัยรุ่นหญิง -- พฤติกรรมทางเพศ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินชีวิตวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ทางเพศ การปรับตัวที่เกิดขึ้นจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง และแนวทาง การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอด้วยการพรรณนาความ ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการดำเนินชีวิตวัยรุ่นหญิงก่อนมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ คือ การมีคนรัก การติดต่อกันทางเฟซบุ๊ก และการอยู่ด้วยกันสองต่อสองกับคนรัก ทำให้เกิดความใกล้ชิด ไว้วางใจ อยากรู้อยากลอง และไม่กล้าปฏิเสธ นำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและตั้งครรภ์ ซึ่งการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมแก่วัยรุ่นหญิง เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ วัยรุ่นหญิงแก้ไขปัญหาโดยการบอกให้พ่อแม่ตนเองและฝ่ายชายทราบ ต่อจากนั้นจึงมีการขอขมาและพาวัยรุ่นหญิงไปฝากครรภ์ 2. การปรับตัวที่เกิดขึ้นจากการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง หลังจากตั้งครรภ์วัยรุ่นหญิงสามารถปรับตัวได้ดีทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อัตมโนทัศน์ บทบาทหน้าที่ และ การพึ่งพาระหว่างกัน เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือและการให้อภัยจากพ่อแม่และการดูแลเอาใจใส่จากฝ่ายชาย ทำให้วัยรุ่นหญิงมีกำลังใจ เลิกโทษตัวเอง หันมาดูแลตัวเองและวางแผนการดำเนินชีวิตในอนาคต 3. แนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศสำหรับวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ 1) แนวทางในการให้ความช่วยเหลือวัยรุ่นหญิงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง พบว่า แนวทางในการให้ความช่วยเหลือจากการทำกลุ่มตรงกับความต้องการของวัยรุ่นหญิงที่เป็นผู้ให้ข้อมูล คือ กำลังใจ/ การให้อภัย อาชีพ/ รายได้ และโอกาสในการศึกษา และ 2) แนวทาง ในการป้องกันการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง ได้แก่ ทักษะการปฏิเสธ ซึ่งจะเกิดขึ้นได้จากที่ครอบครัว และครู ช่วยกันสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เด็ก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9180
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810134.pdf1.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น