กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9170
ชื่อเรื่อง: การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อเสริมพลังอำนาจของผู้ใช้บริการในโครงการบ้านน้อยในนิคมสร้างตนเองให้มีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในฐานะทุนมนุษย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Socil welfre for empowerment of client in the settlement house for trnsformtive lerning s humn cpitl
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรวุฒิ เพ็งพันธ์
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
อัครพงษ์ เพ็ชรพูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: สังคมสงเคราะห์
สตรี -- การสงเคราะห์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการสร้างหุ่นยนต์สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูและบุคลากรทางการศึกษาในกลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 คน และใช้การสนทนากลุ่มกับกลุ่มครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน กลุ่มนักวิชาการจากสถาบันอุดมศึกษา และกลุ่มบริษัทเอกชนที่สนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์ จำนวน 7 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา แบบตีความและสรุปข้อมูลสำคัญ โดยเขียนเป็นเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. ลักษณะกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านการสร้างหุ่นยนต์มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ ลักษณะของผู้เรียนต้องมีพื้นฐานความรู้ตามหลักสะเต็มศึกษา ลักษณะของผู้สอนต้องมีทักษะการบูรณาการความรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และลักษณะของกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนต้องมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเรียนรู้ด้านการสร้างหุ่นยนต์เป็นสำคัญ 2. แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศด้านการสร้างหุ่นยนต์ได้รูปแบบเป็น Robotic model ซึ่งประกอบไปด้วยบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Role of stakeholders: R) การกำหนดวัตถุประสงค์อย่างมีเป้าหมาย (Objective: O) การทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ (Benefit: B) การสร้างโอกาสอย่างเหมาะสม (Opportunity: O) การทำงานประสานร่วมกัน (Team work: T) การบูรณาการองค์ความรู้ (Integration: I) การสร้างความท้าทาย (Challenge: C)
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9170
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810141.pdf1.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น