กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9140
ชื่อเรื่อง: การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยโปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์สำหรับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและพัฒนาความจำในนิสิตระดับปริญญาตรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development innovtive lerning with sq3rs progrm for enhncing reding chievement nd improve memory in undergrdute students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรัชญา แก้วแก่น
กนก พานทอง
ภัทราวดี มากมี
อิทธิพัทธ์ โยธะพันธ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
ความเข้าใจในการอ่าน
การอ่าน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์สำหรับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและพัฒนาความจำทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรี และศึกษาผลการใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและการพัฒนาความจำทางการอ่าน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยบูรพาชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ 2) เครื่องมือใช้วัดตัวแปรตาม ได้แก่ โปรแกรมทดสอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและโปรแกรมทดสอบวัดความจำขณะทำงาน 2and3-back task สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test และ ANOVA ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. การพัฒนาโปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์เพื่อใช้เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ สำหรับการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและพัฒนาความจำทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรีมีความเหมาะสมและใช้ได้จริงในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและพัฒนาความจำทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรี 2. การพัฒนาแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและพัฒนาแบบวัดความจำขณะทำงาน 2and3-back task มีความเหมาะสมและใช้ได้จริงในการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและประเมินการพัฒนาความจำในนิสิตระดับปริญญาตรี 3. คะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ มากกว่าคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมอีเลิร์นนิ่งและมากกว่าคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่อ่านด้วยหนังสือ โดยคะแนนการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านมากกว่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 4. คะแนนการประเมินความจำทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ มากกว่าคะแนนการประเมินความจำทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่ใช้โปรแกรมอีเลิร์นนิ่งและมากกว่าคะแนนการประเมินความจำทางการอ่านของกลุ่มทดลองที่อ่านด้วยหนังสือ โดยคะแนนการประเมินความจำทางการอ่านมากกว่าและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 สรุปได้ว่า โปรแกรมเอเอสคิวทรีอาร์ที่พัฒนาขึ้นในการวิจัยนี้ มีความเหมาะสมและสามารถใช้ในการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและพัฒนาความจำทางการอ่านในนิสิตระดับปริญญาตรีได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9140
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810001.pdf9.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น