กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8846
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวิมลรัตน์ จตุรานนท์
dc.contributor.advisorตฤณ กิตติการอำพล
dc.contributor.authorจารุพักตร์ จ่าจันทึก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:25:42Z
dc.date.available2023-06-06T04:25:42Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8846
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractการวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ 3) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ 4) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 5) ศึกษาเจตคติของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ต่อการเรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนมัธยมวัดศรีจันทร์ประดิษฐ์ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และ 5) แบบวัดเจตคติ ของนักเรียนที่เรียนด้วย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สถิติ ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความเหมาะสมมาก 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (Posttest) สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียน (Posttest) สูงกว่าเกณฑ์ก่อนเรียน (Pretest) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังเรียน (Posttest) สูงกว่าเกณฑ์ก่อนเรียน (Pretest) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดย CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีเจตคติต่อการเรียน โดยศึกษาจากข้อคำถามรายข้อ พบว่า ฉันสามารถนำความรู้ไปใช้ในวิถีชีวิตได้ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ฉันดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อน และฉันจะนำขั้นตอนต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปใช้ในวิถีชีวิตแน่นอน มีค่าเฉลี่ยรองลงมาตามลำดับ
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษา -- กิจกรรมการเรียนการสอน
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
dc.titleการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
dc.title.alternativeThe development of lerning ctivities with cipp model nd coopertive lerning for grde 9th students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research and development were to; 1) develop learning activities with CIPPA model and Cooperative learning for grade 9th students. 2) study learning achievement of grade 9th students after learning with the CIPPA model and Cooperative learning. 3) study the analytical thinking of grade 9th students after learning the CIPPA model and cooperative learning. 4) study problem solving ability of grade 9th students after learning the CIPPA model and Cooperative learning. 5) study attitude toward learning of grade 9th students after learning CIPPA model and cooperative learning. The participants of this research consisted of one classroom of grade 9th student of Matthayom Wat Sichanpradit School Under the Royal Patronage of His Majesty the King in first semester of academic year 2019, with were selected by using cluster random sampling. The research instruments used were 1) lesson plan, 2) learning achievement test, 3) analytical thinking test, 4) problem solving ability test, and 5) attitude towards learning test by CIPPA model and Cooperative learning. The data were analyzed using means, standard deviation, t-test for dependent sample. The results of the research were as follows. 1. The lesson plan with CIPPA model and Cooperative learning of grade 9th students was evaluated at most suitable. 2. The learning achievement of grade 9th students after learning with the CIPPA model and Cooperative learning was higher than the set criteria of 70 percentage, significantly at the .05 level. 3. The analytical thinking scores of the students after learning with the CIPPA model and cooperative learning was higher than pre learning score at the .05 level of significance. 4. The problem solving ability scores of the students after learning with the CIPPA model and cooperative learning score was higher than before learning score at the .05 level of significance. 5. The attitude towards learning of CIPPA model and Cooperative learning concerning the ability to apply the knowledge for daily life was at the high level, the second was about being happy to work with friend, and willingness to apply the knowledge from the learning to daily life.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอน
dc.degree.nameการศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920575.pdf2.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น