กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8843
ชื่อเรื่อง: ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม (STEAM) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนความคิดสร้างสรรค์และเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of lerning mngement by using stem on chievement, cretive thinking nd ttitude of prthomsuks 4 students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาพันธ์ชนิต เจนจิต
สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์
มัสยา บัวผัน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์ -- การศึกษาและการสอน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม กับเกณฑ์ร้อยละ 70 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งได้แก่ 1) ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียน บ้านแหลมแท่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน 2) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านแหลมแท่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 20 คน โดย การสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สมบัติทางกายภาพของวัสดุและสถานะของสสาร 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.25 – 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.30 – 0.90 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 3) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.71 และ 4) แบบวัดเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44 – 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบ One sample t-test และทดสอบค่าทีแบบ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีม ร้อยละ 85.75 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. เจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะตีมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8843
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57912259.pdf3.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น