กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8829
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of mind hppiness mesurement in buddhist context for ging group
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์
กุหลาบ รัตนสัจธรรม
วนัสรา เชาวน์นิยม
รัศมี สุขนรินทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
ความสุขในผู้สูงอายุ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยแบบผสานวิธีนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเชิงคุณภาพและสร้างแบบวัดความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมสำหรับผู้สูงอายุ ผู้ให้ข้อมูลหลักเพื่อศึกษาลักษณะและองค์ประกอบของความสุขทางใจเป็นผู้สูงอายุที่สร้งประโยชน์สุขแก่ส่วนรวม จำนวน 15 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาความสุขทางใจ จำนวน 19 คน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานด้านผู้สูงอายุ จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่างเพื่อสร้งและพัฒนาแบบวัดเป็นผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาพุทธ จำนวน 1,114 คน ที่ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความสุขที่สร้างขึ้น ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดให้มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ตามจิตมิติด้วยความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ความเชื่อมั่น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การหาเกณฑ์ปกติของแบบวัด และประเมินความพึงพอใจในการนำแบบวัดไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าควอไทล์ ค่าพิสัย ควอไทล์การสกัดองค์ประกอบ และค่าเปอร์เซ็นท์ไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุได้ให้ความหมายของการเป็นผู้ที่มีความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรมว่าเป็นความรู้สึกโปร่งโล่งสบายกายใจไม่มีอะไรมาบีบคั้น รู้สึกสุข สงบ บริสุทธิ์จากภายในจิตใจ ซึ่งเกิดจากการใช้ชีวิตในทางที่ถูกต้อง ดีงาม เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่น มีปัญญารู้และเข้าใจโลกตามความเป็นจริง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจของแบบวัด จำนวน 34 ข้อ พบว่า มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีคุณธรรมในการดำเนินชีวิต 2) ภาวะอารมณ์เชิงบวก 3) การมีปัญญารู้ และเข้าใจตามความเป็นจริง 4) การมีความมั่นคงทางจิตวิทญญาณ และ 5) มีใจเป็นอิสระและปล่อยวาง มีตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ จำนวน 18, 6, 5, 3 และ 2 ตัวแปร ตามลำดับ แต่ละตัวแปรมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากกว่า 0.48 ค่า KMO เท่ากับ 0.962 (P<.05) สามารถกำหนดเกณฑ์ของแบบวัดความสุขทางใจออกเป็น 3 ระดับ คือ 1) ความสุขมากกว่าผู้สูงอายุทั่วไป (คะแนนรวมมากกว่า 133 คะแนน) 2) ความสุขอยู่ในระดับผู้สูงอายุทั่วไป (คะแนนรวมอยู่ระหว่าง 107-133 คะแนน) และ 3) ความสุขน้อยกว่าผู้สูงอายุทั่วไป (คะแนนรวมน้อยกว่า 107 คะแนน) ดังนั้น หน่วยงานด้านสาธารณสุข และผู้มีหน้าที่ในการดูแลผู้สูงอายุในสถานที่ต่าง ๆ เช่น สถานสงเคราะห์คนชรา ตึกผู้ป่วยสูงอายุ รวมถึงตัวผู้สูงอายุเอง ควรทำการประเมินให้ทราบถึงระดับความสุขทางใจในบริบทพุทธธรรม แล้วนำผลที่ได้ไปวางแผนในการดูแลสูงอายุให้มีความสุขทางใจที่สูงขึ้น ละเอียดยิ่งขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมส่วนรวมต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8829
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810157.pdf12.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น