กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8827
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorกุหลาบ รัตนสัจธรรม
dc.contributor.advisorวันดี นิลสำราญจิต
dc.contributor.advisorรจฤดี โชติกาวินทร
dc.contributor.authorนริศรา จันทรประเทศ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-06-06T04:25:36Z
dc.date.available2023-06-06T04:25:36Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8827
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ส.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562
dc.description.abstractการวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณ และปัจจัยทำนายปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งศึกษารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในการลดปริมาณแบคทีเรีย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในห้องตรวจรักษา จำนวน 540 ตัวอย่าง หน่วยของการสุ่มตัวอย่าง คือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบยกกลุ่มได้ 7 อำเภอ จำนวน 30 โรงพยาบาล เก็บตัวอย่างแบคทีเรียในอากาศ แอนเดอร์เซน อิมแพคเตอร์ ชนิดชั้นเดียว สำหรับแบบตรวจรายการและสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ห้องตรวจรักษา และเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนผู้รับผิดชอบด้านสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อมเป็นกลุ่มตัวอย่างเดียวกันกับการศึกษาปริมาณแบคทีเรีย จำนวน 30 แห่ง ๆ ละ 1 คน รวม 30 คน และการยืนยันแนวทางโดยผู้เชี่ยวชาญด้วยเทคนิคเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ มัธยฐาน พิสัยควอไทล์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณแบคทีเรียภายในอาการเท่ากับ 583.19 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร (SD = 304.36) ซึ่งสูงกว่าค่าแนะนำของกรมอนามัย (<500 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร) เมื่อจำแนกตามช่วงเวลาขณะให้บริการ (828.83+-385.01 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร) และช่วงเวลาก่อนให้บริการ (409.61+-122.20 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร) ตามลำดับ สำหรับปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายนอกอาคาร ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 36.31+-23.03 โคโลนีต่อลูกบาศก์เมตร โดยพบปัจจัยทำนาย คือ จำนวนคน การแพร่กระจายของแบคทีเรียในอากาศ กิจกรรมที่ทำให้เกิดแบคทีเรียในอากาศ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดแบคทีเรีย และความเร็วลม สามารถร่วมกันทำนายได้ ร้อยละ 54.3 รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในการลดปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มี 6 แนวทาง คือ การกระจายคนเข้าห้องตรวจ การระบายอากาศ การลดปริมาณแบคทีเรียบนเครื่องปรับอากาศ พัดลม โต๊ะ เก้าอี้เฟอร์นิเจอร์และตู้เอกสาร และการจัดการมูลฝอยทั่วไป ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรนำแนวทางดังกล่าวไปใช้กำหนดโครงการหรือกิจกรรมในการลดปริมาณแบคทีเรียภายในโรงพบาบาลเพื่อคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยของผู้เกี่ยวข้องต่อไป และนำผลการวิจยนี้ไปไประยุกต์ใช้หรือนำไปสร้างโปรแกรมใช้งาน (Application) และติดตามประเมินผลโรงพยาบาลอย่างสม่ำเสมออันนำไปสู่การพัฒนาโรงพยาบาลแต่ละแห่งได้อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
dc.subjectการจัดการระบบนิเวศ
dc.subjectการจัดการสิ่งแวดล้อม
dc.titleการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมในการลดปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
dc.title.alternativeThe cretion nd development of environmentl mngement model for reduces the mount of irborne bcteri in tmbon helth promoting hospitl
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this mixed methods research were conducted to analyze and predict the amount of airborne bacteria within the Tambon Health Promoting Hospital and to find the environmental management model for reducing such airborne bacteria. The unit of analysis was 540 airborn bacteria in the treatment rooms and the sampling units were sampled in seven districts of 30 Tambon Health Promoting Hospitals. The samples were collected from Anderson Impactor Single Stage. Data were determine using a checklist and in-depth interview with staff representatives responsible for sanitation and environmental health in 30 hospital obtained by simple random sampling, on informant from each hospital. The guideline was confirmed by experts in the Delphi technique. Data were analyzed by frequency, percentage, median-quartile range and stepwise multiple regression anlaysis. Findings revealed that the average amount of indoor bacteria was 583.19 CFU/ m3 (SD = 304.36) which was higher level than the recommended by the Department of Health (<500 CFU/ m3). Based on the time of service (828.86+-375.01 CFU/ m3), the higherst amount of airborne bacteria was found, followed by the post-service period (511.09+-164.78 CFU/ m3) and the time before service. (409.61+-122.20 CFU/ m3), respectively. As for the amount of bacteria in the air outside the building, the mean found was 36.31+-23.03 CFU/ m3. The predictive factor found included the number of people, speading bacteria in the air, activities that cause bacteria in the air, the environment conducive to bacteria and wind speed with predictability at 54.3% (Adj. R2 = 0.542, p=0.002). The environmental management model for reducing air bacteria in the promoting sub-district hospitals consists of 6 ways: spreading people to medical examination room, ventilation, reduction of bacteria on air conditioners, fans, tables, chairs, furniture and cabinets and general wastes. Therefore, the relevant agencies should utilize these guidelines to define projects or activities to reduce the amount of airborne bacteria in the hospital for the quality of life and safety of related people. In addition, relevant agencies can apply this research to the application or create a program to monitor and evaluate the hospital regularly, leading to the development of each hospital on a continuous basis and lead to sustainable development.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineสาธารณสุขศาสตร์
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810154.pdf42.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น