กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8803
ชื่อเรื่อง: การปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กเพื่อลดความเสี่ยงบริเวณมือและข้อมือของคนงานในงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Improvement of rebr tying tool for reducing hnd nd wrist risks of workers in construction site
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปวีณา มีประดิษฐ์
ทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
อชิรญาณ์ พัดพาน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องมือก่อสร้าง
เหล็ก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานคอนกรีตเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการก่อสร้าง เช่น การก่อสร้างฐานรากสะพาน ถนน และลานบิน ล้วนใช้คอนกรีตเป็นวัสดุหลักในขั้นตอนกระบวนการทำคอนกรีต จะต้องทำการผูกเหล็กเพื่อเสริมความแข็งแรงของคอนกรีต ซึ่งการผูกเหล็กของคนงานจะพบความเสี่ยงทางการยศาสตร์จากท่าทางการเคลื่อนไหวในการผูกเหล็กในลักษณะการคว่ามือและข้อมือ การเงยมือและข้อมือการเบี่ยนเบนมือและข้อมือไปทางนิ้วหัวแม่มือหรือนื้วก้อยและออกแรงในการบิดปลายลวด ให้เป็นเกลียวด้วยมือจากนั้นจะใช้คีมบิดลวดให้แน่นอีกครั้ง ซึ่งลักษณะท่าทางการเคลื่อนไหวอาจส่งผลกระทบและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนงานผูกเหล็กและอาจก่อให้เกิดโรคจากการทำงาน การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษากลุ่มทดลองเพียงกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลการลดความเสี่ยงบริเวณมือและข้อมือก่อนและหลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจงจำนวน 8 คน คุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินการทำงานด้วยมือ ACGIH for HAL โดยประเมินกิจกรรมของมือที่ใช้ในการทำงาน และแรงสูงสุดของมือที่ทำงานปกติแบบประเมินความรุนแรงของความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณมือและข้อมือวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การทดสอบ Wilcoxon signed-rank test ในการเปรียบเทียบ คะแนนความเสี่ยงของงานที่ทำด้วยมือ ACGIH for HAL ก่อนและหลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กและเปรียบเทียบคะแนนความรุนแรงของความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณมือและข้อมือข้างซ้ายและข้างขวาก่อน-หลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กและสถิติ Descriptive statistics ในการพรรณนาในส่วนของความพึงพอใจหลังการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็ก ผลการศึกษาพบว่าการปรับปรุงเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กทำให้ท่าทางการเคลื่อนไหวบริเวณมือและข้อมือ มีความถูกต้องตามหลักการยศาสตร์โดยค่าคะแนนความเสี่ยงเฉลี่ยของงานที่ทำด้วยมือ ACGIH for HAL ข้างซ้ายและข้างขวาน้อยกว่าก่อนการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ค่าคะแนนเฉลี่ยความรุนแรงของความรู้สึกปวดบริเวณมือและข้อมือข้างซ้ายและข้างขวาน้อยกว่าก่อนการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และคะแนนความพึ่งพอใจหลังการปรับปรุงอยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด จากการศึกษาในครั้งนี้คนงานผูกเหล็กสามารถนำเครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กที่ได้รับการปรับปรุงไปใช้งานตามโครงการก่อสร้างที่มีการผูกเหล็กในปริมาณที่มากแต่คนงานมีจำนวนจำกัดได้เครื่องมือที่ใช้ในการผูกเหล็กนี้สามารถลดความเสี่ยงทางการยศาสตร์บริเวณมือและข้อมือของคนงานก่อสร้างได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8803
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59920294.pdf3.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น