กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8799
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของต้นพลูด่างในการลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อนุภาคแขวนลอยในอากาศและกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารของพนักงานธุรการในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งของจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effectiveness of e.ureum in reducing crbondioxide concentrtion, prticulr mtter nd sick building syndrome mong office workers in hospitl in ryong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
นันทพร ภัทรพุทธ
เกวลี แสดงฤทธิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: สารแขวนลอย
คาร์บอนไดออกไซด์ -- การลดปริมาณ -- แง่สิ่งแวดล้อม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาทดลองหาวิธีปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารเพื่อลดปริมาณอนุภาคแขวนลอยในอากาศ, ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอาการเจ็บป่วยจากอาคารของพนักงานธุรการแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง โดยการใช้ต้นพลูด่าง เก็บข้อมูลคุณภาพอากาศภายในอาคารโดยเครื่องมือ Direct reading และเก็บข้อมูลกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารโดยใช้แบบสัมภาษณ์ระยะเวลา ในการทดลอง 6 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา, General Linear model repeated measure ผลการทดลองพบว่า ต้นพลูด่างมีความสามารถในการลดอนุภาคแขวนลอยในอากาศความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารโดยเมื่อเปรียบเทียบปริมาณอนุภาคแขวนลอยในอากาศขนาด 2.5 พื้นที่ A ก่อน และหลังการจัดวางพลูด่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 (p = 0.018, 0.015, 0.017, 0.016 ตามลำดับ) และพื้นที่ B มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p = 0.001, 0.002, 0.000, 0.000 ตามลำดับ) อนุภาคแขวนลอยในอากาศขนาด 10 ไมครอนพื้นที่ A ก่อนและหลังการจัดวางพลูด่าง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p =0.002) และพื้นที่ B มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p = 0.000) เมื่อเปรียบเทียบความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนและหลังการจัดวางพลูด่างพบว่า ในพื้นที่ A ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างก่อนการจัดวางพลูด่างกับค่าความเข้มข้นในสัปดาห์ที่ 3 และ 4 มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.020, 0.010 ตามลำดับ) และในพื้นที่ B เมื่อเปรียบเทียบค่าความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ก่อน และหลังการจัดวางพลูด่างพบว่าค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ระหว่างก่อนกับหลังการจัดวางต้นพลูด่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p = 0.006, 0.000, 0.003, 0.002 ตามลำดับ) ผลการเปรียบเทียบจำนวนร้อยละของกลุ่มอาการเจ็บป่วยจากอาคารในพนักงานธุรการพบว่าร้อยละของพนักงานที่มีอาการเจ็บป่วยจากอาคารระหว่างก่อนและหลังการจัด ต้นพลูด่างแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 (p = 0.000, 0.010 ตามลำดับ) ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือแนะนำให้ใช้ต้นพลูด่างเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารร่วมกับวิธีอื่น ๆ และควรทำการศึกษาวิจัยในระยะเวลาที่นานขึ้นเพื่อให้เห็นผลในระยะยาวของการจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารของต้นพลูด่างและควรประเมินความพึงพอใจของพนักงานผู้เข้าร่วมด้วย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8799
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920159.pdf6.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น