กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8763
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sving behviors mong the members of the mrine corps svings nd credit coopertive Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษณากร ทาวะรมย์
ขจรเกียรติ เพียรสร้าง
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
การประหยัดและการออม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด ประเภทสามัญ จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิและการสุ่มแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละและไคว์สแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 20-29 ปี (ร้อยละ 36.25) มีสถานภาพสมรส ร้อยละ (59.50) มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ ปวช. มากที่สุด (ร้อยละ 64.50) รองลงมา คือ มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 20.50) มีชั้นยศจ่าตรี-จ่าเอก มากที่สุด (ร้อยละ 55.50) มีอายุรับราชการตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไปมากที่สุด (ร้อยละ 32.25) มีรายได้ 10,000-15,000 บาท มากที่สุด (ร้อยละ 25.50) มีรายจ่ายภายในครัวเรือนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5,000-10,000 บาท มากที่สุด (ร้อยละ 31.75) ส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือน 3 คน (ร้อยละ 27.75) และส่วนใหญ่มีผู้อุปการะ (ร้อยละ 72.50) 2. พฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด พบว่า ปริมาณการออมค่าหุ้นสหกรณ์ต่อเดือน 500-1,000 บาท มากที่สุด (ร้อยละ 45.00) ส่วนใหญ่มีการวางแผนการออมไว้นอกจากการออมค่าหุ้นสหกรณ์ (ร้อยละ 87.25) วัตถุประสงค์ในการออมของสมาชิกสหกรณ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) คือ ออมเพื่อใช้จ่ายยามฉุกเฉินมากที่สุด (ร้อยละ 67.75) รองลงมาคือออมเพื่อเป็นทุนการศึกษาของตนเองหรือบุตร/ หลาน (ร้อยละ 44.25) ส่วนรูปแบบการออม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า มีการออมในรูปแบบเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ (กบข.) (ร้อยละ 51.00) รองลงมาคือ มีการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ โดยฝากแบบออมทรัพย์ (ร้อยละ 46.00) กรณีการออมในรูปแบบสินทรัพย์ (ไม่ใช่การกู้ยืมมาซื้อ) มีการออมแบบซื้อบ้าน อาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างเก็บไว้มากที่สุด (ร้อยละ 35.75) รองลงมาคือ ซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ หรือเครื่องจักรในการประกอบอาชีพเสริม (ร้อยละ 19.50) และเหตุผลที่เลือกออมกับสหกรณ์มากที่สุดคือเพื่อให้สหกรณ์มีเงินหมุนเวียนอย่างต่อเนื่อง (ร้อยละ 52.00) 3. ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รายได้และจำนวนสมาชิกในครัวเรือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด ด้านวัตถุประสงค์การออมรูปแบบการออม และปริมาณการออมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสถานภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์นาวิกโยธิน จำกัด ทั้งวัตถุประสงค์การออม รูปแบบการออม และปริมาณการออม
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8763
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930065.pdf2.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น