กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8758
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวบนเกาะเต่าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Opinions mong entrepreneurs tow rd tourism potentil of Koh To, Surtthni province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุษณากร ทาวะรมย์
ชนิสรา นิยมราษฎร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: การท่องเที่ยว -- สุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
ผู้ประกอบการ -- ทัศนคติ
ผู้ประกอบการ -- สุราษฎร์ธานี
ทัศนคติ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวบนเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของการท่องเที่ยวเพื่อเปรียบเทียบศักยภาพของการท่องเที่ยวจำแนกตามกลุ่มผู้ประกอบการและระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวบนเกาะเต่ากลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการบนเกาะเต่า จำนวน 250 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามที่มีค่า Cronbach’s alpha เท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า ศักยภาพการท่องเที่ยวบนเกาะเต่าในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยผู้ประกอบการมีความคิดเห็นว่าเกาะเต่ามีศักยภาพด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวมากที่สุด รองลงมาคือศักยภาพด้านความปลอดภัยและศักยภาพด้านการเข้าถึง ตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ประกอบการที่มีประเภทกลุ่ม ผู้ประกอบการและระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อศักยภาพของการท่องเที่ยวบนเกาะเต่าไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะคือ 1) ด้านการจัดกิจกรรม ท่องเที่ยวควรศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่และหาแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) ด้านการเข้าถึงควรมีป้ายราคารถโดยสารและเรือที่ชัดเจน มีมาตรฐานในการตั้งราคา 3) ด้านความปลอดภัย ส่งเสริมให้มีหน่วยลาดตระเวนและกู้ภัยบริเวณสถานที่ท่องเที่ยว 4) ด้านการรองรับด้านการท่องเที่ยว ภาครัฐควรจัดหาแหล่งน้ำจืดให้เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค 5) ด้านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาครัฐควรดูแลไม่ให้ผู้ประกอบการทิ้งสิ่งปฏิกูลลงทะเล และส่งเสริมให้มีการบำบัดน้ำเสียและ 6) ด้านอื่น ๆ ดำเนินการดูแลจุดเสี่ยงที่อาจจะเกิดอาชญากรรม โดยติดกล้องวงจรปิด และเสาไฟฟ้าเพื่อเพิ่มแสงสว่างในบริเวณที่มีความเสี่ยง
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ปร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8758
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59930089.pdf2.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น