กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8740
ชื่อเรื่อง: การบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legl execution of gurntors in criminl cses in thilnd
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธนวัฒน์ พิมลจินดา
ฤทธิกร ศิริประเสริฐโชค
ไพโรจน์ ทิมจันทร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คดีอาญา
การบังคับคดี
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสาเหตที่มีผลกระทบต่อระบบและวิธีการในการบังคับคดีผู้ประกันในคดีอาญาของสำนักงานศาลุติธรรม 2) เพื่อศึกษาแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมในการบังคับคดีอาญาของสำนักงานศาลยุติธรรม ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix method research) ระหว่างการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) ด้วยการแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) จากกลุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มเป้าหมายซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ศาลยุติธรรม ได้แก่ นิติกรผู้ปฏิบัติงานบังคับคดีโดยตรง จำนวน 166 คน และกลุ่มที่ 2 กรมบังคับคดี ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานบังคับคดีจังหวัด จำนวน 64 คน พร้อมทั้งวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistics) ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) ที่เก็บรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ประกอบด้วย ผู้บริหารสูงสุดของศาลยุติธรรมและสำนักงานศาลยุติธรรม หัวหน้าส่วนราชการศาลยุติธรรมที่ดำเนินคดีอาญา ในกรุงเทพมหานคร และศาลยุติธรรมที่ตั้งอยู่ในจังหวัดที่ตั้งสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 1-9 และผู้บริหารสูงสุดของกรมบังคับคดี รวมทั้งสิ้นจำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์สรุปอุปนัย (Analytic induction) ควบคู่กับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ซึ่งครอบคลุมประเด็นหลักการบริหารปัจจัยพื้นฐาน 4 อย่าง ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุที่มีผลกระทบต่อระบบและวิธีการในการบังคับดีใน 4 ด้าน ดังนี้ ก) ด้านบุคลากร บุคลากรขาดแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน มากที่สุด (X = 4.26) ขาดความเชี่ยวชาญในการบังคับคดี มาก (X = 4.21) บุคลากรขาดขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน มาก (X = 4.17) ขาดที่ปรึกษาที่เชี่ยวชาญในการบังคับคดี มาก (X = 4.07) เกิดจากผู้บริหาร มาก (X = 3.87) ข) ปัญหาด้านงบประมาณ การจ่ายค่าธรรมเนียมต่าง ๆ แก่หน่วยงานราชการมีความยุ่งยากในการปฏิบัติ มาก (X = 3.92) ไม่มีเงินเบี้ยเลี้ยงให้ผู้ปฏิบัติงานในกรณีต้องออกไปปฏิบัติหน้าที่นอกสำนักงาน มาก (X = 3.90) ขาดงบประมาณในการติดตามและสืบทรัพย์ มาก (X = 3.80) ค) ปัญหาด้านอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ฐานข้อมูลผู้ประกันทีเชื่อมโยงกันทั้งประเทศไม่เป็นปัจจุบัน มาก (X = 4.17) ขาดระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการบังคับคดี มาก (X = 4.08) ง) ปัญหาด้านการบริหารจัดการ การใช้ตำแหน่งหรือบุคคลเป็นหลักประกัน มีปัยหาในทางปฏิบัติมาก มากที่สุด (X = 4.63) ขาดการตรวจสอบหลักทรัพย์ มากที่สุด (X = 4.58) หลักทรัพย์ที่วางประกันไม่น่าเชื่อถือ มากที่สุด (X = 4.55) ระบบปล่อยชั่วคราว มาก (X = 4.19) ขาดหน่วยงานกลางในการให้คำปรึกษาแนะนำที่ชัดเจน มาก (X = 4.05) ระบบงานและขั้นตอนไม่ชัดเจน มาก (X = 3.95) รูปแบบหรือวิธีการที่มีความเหมาะสมในการบังคับคดีศาลยุติธรรม ร้อยละ 72 เห็นด้วย ให้ “สำนักงานศาลยุติธรรม” เป็นหน่วยงานหลักนการบังคับคดี และกรมบังคับคดี มีความเห็นด้วยอย่างยิ่ง ให้ “สำนักงานศาลยุติธรรม” เป็นหน่วยงานหลักในการบังคับคดี แต่ให้พัฒนา ปรับปรุง วิธีการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพมากกว่าปัจจุบัน แต่เมื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนของแต่ละวิธี ประกอบข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญของศาลยุติธรรมร้อยละ 28 แล้วจึงสรุปได้ว่ารูปแบบหรือวิธีการบังคับคดีที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือ ให้ “กรมบังคับคดี” เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โดยมีสำนักงานศาลยุติธรรมและสำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานสนับสนุน เนื่องจากกรมบังคับคดีมีจุดแข็งที่สำคัญมากกว่าหน่วยงานอื่น กล่าวคือ มีความพร้อมในเรื่องปัจจัยการบริหารทั้ง 4 ประการ โดยเฉพาะบุคลากรมีความเชี่ยวชาญในการบังคับคดี มีกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ รองรับการดำเนินการอย่างครบถ้วน และมีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบังคับคดี
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8740
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810201.pdf4.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น