กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8700
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Qulity of work-life of the fculty of humnities nd socil sciences’ s stff burph university
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
เอกชัย รุจิกมลพงศ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิตการทำงาน
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน
บุคลากรทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิยาลัยบูรพา การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อ เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ประเภทสายงาน ประสบการณ์ทำงาน ระดับรายได้และกลุ่มสายงาน โดยวิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 116 คน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-testและ One-way ANOVA ทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยใช้ LSD (Least signigicant difference test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยันโดยใช้สถิติ (Confirmatory factor analysis) เพื่อตรวจสอบโมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน พบว่า โมเดลการวัดตัวแปรองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีความสอดคล้องกัน น้ำหนักองค์ประกอบของตัวแปรสังเกตได้อยู่ระหว่าง 0.655-0.380 และมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของตัวแปรสังเกตได้ (R2 อยู่ระหว่าง 0.429-0.144) ค่าน้ำหนักองค์ประกอบที่มีค่าสูงสุด ได้แก่ ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน, ด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ, ด้านประชาธิปไตยในองค์การ, ด้านการบูรณาการทาง สังคม หรือการทำงานร่วมกัน, ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคล, ด้านการได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรม, ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว สุดท้ายด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาโดยภาพรวมรายด้าน พบว่า มีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวม 8 ด้านอยุ่ในระดับมากโดยเมื่อแยกเป็นรายด้าน พบว่า ด้านโอกาสในการพัฒนาความสามารถของบุคคลเป็นอันดับแรกรองลงมา ด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในงานด้านสภาพการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านประชาธิปไตยในองค์การ ด้านการได้รับค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอและยุติธรรมด้านความสมดุลระหว่างงานกกับชีวิตส่วนตัว ด้านการบูรณาการทางสังคม หรือการทำงานร่วมกัน และสุดท้ายด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทำงานงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพาที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประเภทสายงาน ประสบการณ์ทำงาน ระดับรายได้กลุ่มสายงานต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (รป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8700
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58930204.pdf2.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น