กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8697
ชื่อเรื่อง: รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Ledership styles ffect to dministrtor’s locl government orgniztion long thicmbodin border, s keo, province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรชัย สื่อประเสริฐสิทธิ์
ชิตพล ชัยมะดัน
ชยภัทฒ์ เทสินทโชติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
การปกครองส่วนท้องถิ่น -- สระแก้ว
ผู้นำชุมชน -- สระแก้ว
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว มีวัตถุประสงค์การศึกษาดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติตามรูปแบบผู้นำแบบถดถอย รูปแบบผู้นำแบบใช้อำนาจหน้าที่ รูปแบบผู้นำแบบสร้างสรรค์ รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลางของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาระดับการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว 3) เพื่อศึกษารูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทยกัมพูชา จังหวัดสระแก้ว และ 4) เพื่ออธิบายเหตุผลเชิงลึกของปัจจัยรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method) โดยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) เพื่อสำรวจเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) และทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) เพื่ออธิบายเหตุผลเชิงลึกของรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว โดยวิธีการ สนทนากลุ่ม (Focus group discussion) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ซึ่งเป็นพนักงานที่ปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า 1. รูปแบบผู้นำของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว รูปแบบผู้นำที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผู้นำแบบสร้างสรรค์ รองลงมา ได้แก่ ผู้นำแบบทางสายกลาง ผู้นำแบบทีม ผู้นำแบบถดถอย และผู้นำแบบใช้อำนาจหน้าที่ 2. การบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการควบคุม อยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการวางแผน 3. รูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว ได้แก่ รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลาง สมการถดถอยมีอำนาจการทำนายหรือพยากรณ์ร้อยละ 57.0 โดยมีความคลาดเคลื่อน มาตรฐานในการทำนายหรือพยากรณ์ เท่ากับ .34 4. เหตุผลเชิงลึกของรูปแบบผู้นำที่ส่งผลต่อการบริหารงานของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสระแก้ว พบว่า รูปแบบผู้นำแบบทีมงาน และรูปแบบผู้นำแบบทางสายกลาง ส่งผลทางบวกต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของ ผู้ใต้บังคับบัญชา ทำให้ผลการปฏิบัติงานออกมามีประสิทธิภาพ และพฤติกรรมที่ผู้นำแสดงออกจะเป็นงานนโยบายใหม่จากหน่วยงานระดับที่สูงกว่า นโยบายของตัวผู้นำเอง งานโครงการ กิจกรรมใหม่ ๆ ที่จัดขึ้นภายในองค์กร การจัดงานร่วมกับประชาชน หรืองานชุมชนในพื้นที่
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8697
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810057.pdf4.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น