กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8696
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A model of chnge mngement for locl dministrtive orgniztion in chntburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงษ์เสฐียร เหลืองอลงกต
สุปราณี ธรรมพิทักษ์
ศิวัสสา จันโท
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -- ไทย -- จันทบุรี
การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- จันทบุรี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 4) เพื่อศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี 5) เพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้น เมื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใน จังหวัดจันทบุรีโดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือผู้บริหารทุกระดับภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี (เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล) จํานวนทั้งสิ้น 754 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Schumacker and Lomax ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 400 คน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ หลังจากนั้นทําการสุ่มตัวอย่างอยย่างง่ายจนครบตามจํานวนที่ต้องการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM-structural equation model) โดยโปรแกรมสําเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีกับข้อมูลเชิงประจักษ์และศึกษาน้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงรวมถึงใช้เทคนิคการวิเคราะห์กลุ่มพหุ (Multiple group analysis) ด้วยโปรแกรมสําเร็จรูปทางคณิตศาสตร์ เพื่อศึกษาความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ผลการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ในภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับดีมาก 2. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีพบว่าปัจจัยด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงมี 4 องค์ประกอบได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ การสร้างความตระหนักถึงความสําคัญในการเปลี่ยนแปลง การสร้างการมีส่วนร่วมและการรักษาการเปลี่ยนแปลงให้คงอยู่ในองค์การ ส่วนปัจจัยด้านภาวะผู้นํามี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างแรงบันดาลใจ การคํานึงถึงความเป็นเอกัตถะบุคคล การกระตุ้นทางปัญญา และการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และปัจจัยด้านการสื่อสารในองค์การมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ช่องทางการสื่อสาร เนื้อหาข่าวสาร ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับสาร และสุดท้ายปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์การ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การมุ่งเน้นความสําเร็จ การทํางานเป็นทีม การมีความคิดสร้างสรรค์ และการให้ความสําคัญแก่ บุคคล นอกจากนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ปัจจัยดังต่อไปนี้ 1) ปัจจัยภาวะผู้นําโดยปัจจัยภาวะผู้นํามีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังมีอิทธิพลทางตรงต่อการสื่อสารในองค์การและวัฒนธรรมองค์การ นอกจากนี้ภาวะผู้นํายังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านการสื่อสาร ในองค์การและส่งผ่านวัฒนธรรมองค์การ นอกจากนี้ภาวะผู้นํายังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อวัฒนธรรมองค์การโดยส่งผานการสื่อสารในองค์การอีกด้วย 2) ปัจจัยการสื่อสารในองค์การโดยปัจจัยการสื่อสารในองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การและยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านวัฒนธรรมองค์การ 3) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การโดยปัจจัยวัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง 3. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรีที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง กลมกลืน ดังนี้  2 = 98.786, df = 81, p-value = 0.087, CFI = 0.995, TLI = 0.993, RMSEA = 0.023, SRMR = 0.027 และ  2 /df = 1.219 4. ผลการวิเคราะห์น้ำหนักของอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี พบว่า ด้านอิทธิพลทางตรงปัจจัยภาวะผู้นํา , การสื่อสารในองค์การ, วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ระดับ 0.01 โดยค่าสัมประสิทธิ์ขนาด อิทธิพลของภาวะผู้นํา 0.331 (p < 0.01) การสื่อสารในองค์การ 0.102 (p < 0.01) และวัฒนธรรม องค์การ 0.473 (p < 0.01) กล่าวคือปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงมากที่สุดคือ วัฒนธรรมองค์การ รองลงมาคือ ภาวะผู้นํา และน้อยที่สุดคือการสื่อสารในองค์การ และด้านอิทธิพลทางอ้อม พบว่า ภาวะผู้นําและการสื่อสารในองค์การมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านวัฒนธรรมองค์การอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพล 0.340 และ 0.095 ตามลําดับ และภาวะผู้นํายังส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงโดยส่งผ่านการสื่อสารในองค์การอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลเท่ากับ 0.078 นอกจากนี้ ยังพบว่า ด้านอิทธิพลโดยรวมที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมสูงสุดโดยมีค่า 1.419 (p < 0.01) เมื่อพิจารณาถึงอิทธิพลโดยรวมที่ส่งผลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง พบว่า ปัจจัยด้านภาวะผู้นํา มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมสูงสุดโดยมีค่า 0.749 (p < 0.01) เป็นอันดับแรก รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การมีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.473 (p < 0.01) และปัจจัยด้านการสื่อสารในองค์การ มีค่าสัมประสิทธิ์ขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.197 (p < 0.01) เป็นอันดับสุดท้าย กล่าวคือปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุดคือ ปัจจัยภาวะผู้นํา รองลงมาคือ วัฒนธรรมองค์การ และน้อยที่สุดคือ การสื่อสารในองค์การ 5. รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่พัฒนาขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างองค์การบริหารส่วนตําบลและเทศบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดจันทบุรี มีความไม่แปรเปลี่ยน โดยทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบลมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงเหมือนกัน แต่ขนาดน้ำหนักที่มีอิทธิพลในโมเดลต่างกันเพียงเล็กน้อย สามารถนําไปใช้ได้ทั้งในเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตําบล
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8696
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57810038.pdf5.33 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น