กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8658
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร: กรณีศึกษากองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายพรหมโยธี) อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of tourism in royl Thi Army zone: cse study of Phrom Yotee fort of Mueng district, Prchinburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญญาดา กระจ่างแจ้ง
รัชภูมิ วัฒนใย
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวที่มีผลต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในเขตกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายพรหมโยธี) อำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรี 2) เพื่อศึกษาทัศนคติและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีผลต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในเขตกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายพรหมโยธี) อำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรีโดยเป็นการวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative research) ทำการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ประกอบด้วยกลุ่มหน่วยงานทหารกลุ่มสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดปราจีนบุรีกลุ่มผู้ประกอบการร้านค้าและกลุ่มนักท่องเที่ยวรวมทั้งสิ้น จำนวน 30 คน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวค่ายกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายพรหมโยธี) อำเภอเมืองจังหวัดปราจีนบุรีพบว่ามีบทบาทการจัดการเป็นลำดับขั้นตอนมีแผนงาน มีจำนวนบุคลากรเพียงพอและมีความรู้ความชำนาญ ด้านเรื่องงบประมาณยังมีด้านวัสดุครุภัณฑ์ที่ยังไม่เพียงพอการพัฒนาสาธารณูปโภคยังไม่ได้มาตรฐานมีการชำรุดของถนนเป็นหลุมเป็นบ่อและห้องน้ำที่ยังไม่ได้มาตรฐานและไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการ ด้านการประชาสัมพันธ์มีการใช้สื่ออนไลน์ (2) การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภายในเขตพื้นที่กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (ค่ายพรหมโยธี) พบว่ายังไม่ได้มีการสนับสนุนในส่วนนโยบายการในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว (3) ด้านศึกษาทัศนคติและการมีส่วนร่วมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียพบว่า ยังขาดการส่งเสริม สนับสนุนจากหน่วยงานของภาครัฐบางส่วนและโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยวนั้นยังไม่เพียงพอในด้านระบบสาธารณูปโภคเนื่องจากมีห้องน้ำที่ยังไม่ได้มาตรฐานและไม่เพียงพอต่อการให้บริการและถนนมีสภาพชำรุดทรุดโทรม ในส่วนของกิจกรรมการท่องเที่ยวควรเพิ่มเติมกิจกรรมสำหรับเด็กเครื่องเล่นเด็ก หรือครัวริมน้ำและกิจกรรมตามเทศกาลของท้องถิ่น และการประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้นเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำ
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (บธ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8658
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59710062.pdf3.57 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น