กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8624
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการบริหารและการใช้ประโยชน์มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์แสดงสินค้าในพื้นที่เขตเศรษกิจพิเศษถาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The mngement style nd tking dvntge of the exhibition center of the university in the estern economic corridor zone
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีทัต ตรีศิริโชติ
สุชนนี เมธิโยธิน
นภาวรรณ โฆษิตสุริยะพันธุ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
เขตเศรษฐกิจพิเศษ -- ไทย (ภาคตะวันออก)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบที่มหาวิทยาลัยบริหารศูนย์แสดงสินค้าให้เป็นไปตามเป้าหมายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกและเพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์ของศูนย์แสดงสินค้าของมหาวิทยาลัยในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกใช้วิธีวิจัยเชิงผสมผสาน โดยสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการผู้บริหาร กระทรวงพาณิชย์อธิการบดีมหาวิทยาลัยผู้บริหารระดับจังหวัดในเขตเศรษฐกิจพิเศษภา ตะวันออก (EEC) จำนวน 8 ท่าน และใช้แบบสอบถามกับผู้ประกอบการชั้นนำในพื้นที่ EEC จำนวน 100 ชุด ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเชิงอนุมาน แล้วนำผลมาวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural equation modeling: SEM) โดยใช้โปรแกรมทางสถิติ Warp PLS ทดสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบที่มหาวิทยาลัยบริหารศูนย์แสดงสินค้าให้เป็นไปตามเป้าหมายในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า มหาวิทยาลัยที่ควรแสดงสินค้าของบริษัทโรงงานอุตสาหกรรม มากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี โดยมีรูปแบบที่มหาวิทยาลัยบริหารคือการจัดจ้างหน่วยงานการตลาดเชิงรุกและประชาสัมพันธ์ด้านการใช้ประโยชน์ของศูนย์แสดงสินค้าของมหาวิทยาลัยในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก พบว่า การบริการของศูนย์แสดงสินค้าที่ควรมีมากที่สุด คือ ให้คำปรึกษา แนะนำการลงทุน การเงิน การผลิต การตลาด รองลงมาคือ บริการจับคู่ทางธุรกิจและจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ด้านสินค้าที่ควรนำมาแสดงมากที่สุดคือ สินค้าที่มีความต้องการบริโภคสูง รองลงมาคือ สินค้าอุตสาหกรรมในเขต EEC และสินค้าเทคโนโลยี นวัตกรรม งานวิจัย โดยการตัดสินใจใช้ประโยชน์ ศูนย์แสดงสินค้ามากที่สุด คือเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์สินค้าและรองลงมาคือเพิ่มช่องทาง การตลาด การขายสินค้า
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8624
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54870025.pdf11.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น