กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8621
ชื่อเรื่อง: การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Public policy drives to increse the effectiveness chin mngement of tilpi business
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชนนี เมธิโยธิน
อิสระ สุวรรณบล
ปุญชรัสมิ์ วัฒณาไพบูลย์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์
คำสำคัญ: ปลานิล -- การค้า
ปลานิล -- การตลาด
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบริบทสถานการณ์ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลของเกษตรกรไทย เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิผล การจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลของเกษตรกรไทย โดยใช้รูปแบบการแบบผสานวิธี ประกอบไปด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ การสนทนากลุ่ม และการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ความคิดเห็นจากเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จํานวน 600 ชุด ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลในปัจจุบันในส่วนต้นน้ำ ได้แก่ 1) ต้นทุนในการผลิตสูง 2) ขาดองค์ความรู้ในการผลิตและการบริหารจัดการของเกษตรกรไม่ดี 3) ขาดแคลนเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตและแปรรูป 4) ขาดแคลนที่ดินในการทําบ่อเลี้ยง 5) ขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง 6) การเกิดโรคระบาดภัยธรรมชาติและภัยทางสิ่งแวดล้อม 7) การจัดหาลูกพันธุ์ปลานิล 8) ขาดการควบคุมคุณภาพ และมาตรฐานผลผลิต 9) นโยบายภาครัฐไม่เอื้อต่อการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ 10) ขาดการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและเกษตรกร ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ 1) ถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางและขาดอํานาจ ในการต่อรองของเกษตรกร 2) ขาดการรวมกลุ่มของเกษตรกรและภาวะผู้นํากลุ่ม และส่วนปลายน้ำ ได้แก่ 1) ปัญหาด้านราคา กลไกตลาด และความสามารถในการแข่งขัน 2) ขาดตลาดเพื่อรองรับผลผลิตอย่างเพียงพอ 3) ขาดการประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริโภคย่างเพียงพอจากภาครัฐ ในขณะที่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิผลการจัดการห่วงโซ่ธุรกิจปลานิลในปัจจุบัน สามารถทําได้ คือ ส่วนต้นน้ำ ได้แก่ 1) เกษตรกร สามารถเข้าถึงข้อมูลที่จําเป็นในการผลิต และมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทั้งด้านบริหารและด้านกระบวนการผลิต 2) ส่งเสริมให้มีการวางแผนการผลิตและปัจจัยการผลิตที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดต้นทุนให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาด 3) ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มกันให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมในการจัดการห่วงโซ่ปลานิล 4) เพิ่มการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารจัดการห่วงโซ่ปลานิลมากขึ้น 5) ส่งเสริมให้เกษตรกรน้อมนําหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง ภูมิปัญญาชาวบ้านและเกษตรอินทรีย์ มาใช้เป็นแนวทางการเลี้ยงปลานิล 6) สนับสนุนเกษตรกร ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ให้การสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ 1) สร้างความสามารถ ในการแข่งขันในตลาดให้มีความเข้มแข็งให้เกษตรกร 2) สนับสนุนชุมชนให้มีผู้นํากลุ่มที่เข้มแข็ง สามารถถ่ายทอด สื่อสารกันในกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างภาวะผู้นําของผู้นํากลุ่มให้มีความโดดเด่นและเป็นที่ยอมรับ โดยทั่วไป เพื่อสร้างองค์กรที่มีความเข้มแข็งและสามารถแข็งขันได้ และส่วนปลายน้ำ ได้แก่ 1) มีช่องทางในการจําหน่ายเพียงพอกับผลผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผลผลิต สินค้าและผลิตภัณฑ์และเกษตรกรจะต้องมีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา 2) ส่งเสริมการสร้างรายได้และการขยายโอกาส ให้กับเกษตรกรและชุมชน เพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ชุมชนและส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืนในอาชีพ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8621
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57870049.pdf14.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น