กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8603
ชื่อเรื่อง: ยุทธศาสตร์การดำรงชีพของชาวประมงพื้นบ้านภายใต้โครงการพัฒนาบริเวณ ชายฝั่งทะเลตะวันออก: กรณีศึกษาจังหวัดระยอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Livelihood strtegies of locl fishermen under estern sebord development progrm: cse study of ryong province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน
ปรียานุช จันทเดิม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรเพื่อความมั่นคง
ชาวประมง -- การดำเนินชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการดํารงชีพของชาวประมงพื้นบ้าน 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดํารงชีพ และ 3. เสนอยุทธศาสตร์การดํารงชีพของชาวประมงพื้นบ้านภายใต้โครงการพัฒนาบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก กรณีศึกษาจังหวัดระยอง โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน 320 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการพรรณนา และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 10 ราย ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ส่วนใหญ่ที่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 72.2โดยมีอายุเฉลี่ยระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 29.1และมีสถานสภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 72.5 ส่วนในเรื่องของการศึกษานั้นส่วนใหญ่ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 63.4 และอาศัยอยู่ร่วมกันครัวเรือนละ 4 –5 คน คิดเป็นร้อยละ 44.1 พบว่าชาวประมงพื้นบ้านได้รับการสืบทอดอาชีพจากบรรพรุษมา 1 –2 รุ่น คิดเป็นร้อยละ 46.3 และสร้างรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 50,001 – 100,000 บาทในระยะเวลา 1 ปี การทําประมงพื้นบ้านต้องอาศัย “ทุน” ในการดํารงชีพ ผลการศึกษาพบว่า ทุนที่ส่งผลในเชิงบวก คือ ทุนมนุษย์ ได้แก่ ทักษะการอ่านสัญญาณธรรมชาติ การประดิษฐ์เครื่องมือ สุขภาพที่แข็งแรง ทุนสังคม ได้แก่ การรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง ทุนการเงิน ได้แก่ อาหารทะเลราคาสูง ทุนสถาบัน ได้แก่ ความช่วยเหลือจากหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน/อุตสาหกรรม ส่วนทุนที่ส่งผลกระทบในเชิงลบ คือ ทุนมนุษย์ ได้แก่ การขาดความตระหนักเรื่องสุขภาพ การขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เพียงพอ การขาดความภูมิใจในอาชีพของตนเอง ทุน การเงิน ได้แก่ การไม่สามารถคาดการณ์รายรับได้ ทุนกายภาพ ได้แก่ การมีพื้นที่สําหรับการทําประมงพื้นบ้าน อย่างจํากัด เครื่องมือถูกทําลายจากปัจจัยภายนอก ทุนสังคม ได้แก่ ชาวประมงทําร้ายกันเอง เกิดการแข่งขันและแย่งชิงทรัพยากร และทุนธรรมชาติ ได้แก่ สภาพอากาศที่ไม่แน่นอน ภัยธรรมชาติ สัตว์น้ำน้อยลง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ทุนมนุษย์ ทุนสังคม และทุนการเงิน เป็นทุนที่ให้ทั้งคุณและโทษขึ้นอยู่กับบริบทแวดล้อมในเรื่องของนโยบาย เศรษฐกิจ ค่านิยมของสังคม ฯลฯ เช่นเดียวกับ ทุนธรรมชาติ จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ขับเคลื่อนการดํารงชีพของ ชาวประมงพื้นบ้านให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลอย่างมีธรรมาภิบาลและมีประสิทธิภาพ และยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการคุ้มครองและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลอย่างยั่งยืน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8603
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920748.pdf2.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น