กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8578
ชื่อเรื่อง: ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตำบลหมอนนาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Stisfction of the elderly on the provision of services relted to the subsistence llownce of the municiplity, mon nng, phntnikhom, chonbubi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพฑูรย์ โพธิสว่าง
นชานนท์ บุญศรีสุวรรณ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
คำสำคัญ: เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลหมอนนาง อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลหมอนนาง อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และเพื่อเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการ เกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลหมอนนาง อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t-Test และใช้สถิติ One-way ANOVA หากพบว่ามีความแตกต่างจะทําการทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการ LSD (Least significant difference test) ผลการศึกษาพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลหมอนนาง อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาในรายละเอียดสรุปได้ว่า ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลหมอนนาง อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ในด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่องอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้สูงอายุให้ความสําคัญในเป็นอันดับแรก รองลงมาคือด้านด้านการให้บริการอย่างเสมอภาคอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการให้บริการอย่างเพียงพออยู่ในระดับมากที่สุด และอันดับสุดท้ายคือด้านการให้บริการอย่างทันต่อเวลาอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐาน จําแนกตามข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่าประชาชนที่มีเพศต่างกัน ความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่มีต่อการให้บริการเกี่ยวกับเบี้ยยังชีพของเทศบาลตําบลหมอนนาง อําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี พบว่า ประชาชนที่มีเพศไม่ต่างกัน จึงปฎิเสธสมมติฐานการวิจัย ส่วนประชาชนที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในตําบล ต่างกัน มีส่วนร่วมของประชาชนต่อการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตําบลหนองข้างคอก อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงยอมรับสมมติฐานการวิจัย
รายละเอียด: งานนิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8578
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
59910288.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น