กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8563
ชื่อเรื่อง: ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่อออกแบบสื่อการเรียนรู้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Artistic wisdom of mon community to crete lerning medi design
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญเติม พันรอบ
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
วารดา พุ่มผกา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
ภูมิปัญญาชาวบ้าน
มอญ -- ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญเพื่ออกแบบสื่อการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาภาคเอกสารและภาคสนาม รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก มีวัตถุประสงค์ การวิจัยเพื่อศึกษาภูมิปัญญามอญทางด้านศิลปกรรมของชุมชนไทยเชื้อสายมอญ วิเคราะห์เอกลักษณ์ทางด้านศิลปกรรมมอญ นําไปสู่แนวทางการออกแบบสื่อการเรียนรู้ และประเมินความรู้ ความเข้าใจในภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมมอญของชาวมอญ ผลจากการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรมมอญเกี่ยวเนื่องสิ่งสําคัญ 3 ประการ ได้แก่ พุทธศาสนา การรําลึกถึงอดีตของชนชาติมอญ และการนับถือผีบรรพบุรุษทั้งนี้ศิลปกรรมมอญ จําแนกเป็น 2กลุ่มใหญ่ คือ (1) ศิลปวัฒนธรรมที่จับต้องได้ เช่น เจดีย์มอญ เสาหงส์ สถาปัตยกรรมชั่วคราว เช่น เมรุปราสาทมอญ และ ศิลปหัตถกรรม เช่น การทําโลงศพ การปักสไบมอญ (2) ศิลปกรรมประเภทที่จับต้องไม่ได้ เช่น ภาษาพูดมอญ ประเพณี พิธีกรรม คติความเชื่อ และองค์ความรู้และทักษะของช่างภูมิปัญญามอญ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ “ทุนทางวัฒนธรรม” ที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ได้แก่ การผลิตสินค้าทางวัฒนธรรมประเภทของที่ระลึก การสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมมอญ เป็นต้น ผู้วิจัยจึงได้นําผลการศึกษาอัตลักษณ์ของศิลปกรรมมอญ เช่น ลวดลายจากงานจิตรกรรม สีสันจากเสื้อผ้าการแต่งกายของชาวมอญมาเป็นแนวทางในการออกแบบสื่อการเรียนรู้ คือ “ชุดปักสไบมอญ และชุดสาธิตธงตะขาบ” ซึ่งมีแนวคิดในการออกแบบ แสดงอัตลักษณ์มอญ มีความสวยงาม สืบสานภูมิปัญญามอญ และสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ง่าย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้แบบทดสอบ Pretest-posttest เรื่องสไบมอญและธงตะขาบกับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว ตําบลเจ็ดริ้ว อําเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จํานวน 20 คน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการประเมินความพึงพอใจของตัวแทนชุมชนมอญ 4 ชุมชน จํานวน 363 คน ที่มีต่อสื่อการเรียนรู้โดยใช้แบบสอบถามพบว่าค่าเฉลี่ยรายด้านดังนี้ ด้านเนื้อหา 4.05 ด้านออกแบบ 4.19 ด้านการเรียนรู้ 4.18 สื่อการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8563
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54810096.pdf18.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น