กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8561
ชื่อเรื่อง: การศึกษาอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อการออกแบบร่วมสมัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Asen community identity of contemporry design jewellry
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรินทร์ อินทะยศ
เกรียงศักดิ์ เขียวมั่ง
ศมลพรรณ ภู่เล็ก
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: เครื่องประดับ
การตกแต่งและการประดับ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
เครื่องประดับ -- การออกแบบ
อัตลักษณ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ลักษณะความเป็นอัตลักษณ์เครื่องประดับอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่าและกัมพูชา สร้างสรรค์เครื่องประดับจากแนวความคิดอัตลักษณ์เครื่องประดับจากกลุ่มประเทศอาเซียน และประเมินและสร้างต้นแบบอัตลักษณ์ เครื่องประดับจากกลุ่มประเทศอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคชาวไทยและต่างชาติ จากงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 59 ระหว่างวันที่ 22-26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบเครื่องประดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความพึงพอใจในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องประดับ และแบบประเมิน คู่มือองค์ความรู้เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียนและแบบร่าง ผลการวิจัยพบว่า (1) จากประชากรและกลุ่มตัวอย่างจํานวน 407 ชิ้น จากหนังสือ The Jewelry of Southeast Asia และ ASIAN JEWELLERY เมื่อนํามาวิเคราะห์ โดยแยกประเภทของเครื่องประดับ ปรากฏว่า เครื่องประดับที่นํามาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฏีฐานนิยม ได้แก่ กําไลข้อมือ สร้อยคอ และต่างหู และแสดงค่า 3 อันดับแรก ประเภทของเครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งสามารถแบ่งตามกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ ประเทศกัมพูชา เครื่องประดับจํานวน 43 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ กําไลข้อมือ ต่างหู และสร้อยคอ ประเทศพม่า เครื่องประดับ จํานวน 37 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ ประเทศ สปป.ลาว เครื่องประดับจํานวน 34 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ กําไลข้อมือ สร้อยคอ และต่างหู ประเทศเวียดนาม เครื่องประดับจํานวน 31 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กําไลข้อมือ และสร้อยคอ ประเทศไทย เครื่องประดับ จํานวน 41 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กําไลข้อมือ และสร้อยคอ ประเทศอินโดนีเซีย เครื่องประดับจํานวน 113 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู กําไลข้อมือ และสร้อยคอ ประเทศมาเลเซีย เครื่องประดับจํานวน 32 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ ต่างหู สร้อยคอ และกําไลข้อมือ ประเทศฟิลิปปินส์ เครื่องประดับจํานวน 33 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ ประเทศสิงคโปร์ เครื่องประดับจํานวน 22 ชิ้น ประเภทเครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือและประเทศบรูไน เครื่องประดับจํานวน 19 ชิ้น ประเภท เครื่องประดับ 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้อยคอ ต่างหู และกําไลข้อมือ (2) วัสดุที่ถูกค้นพบในช่วงศตวรรษที่ 10-20 มากที่สุด คือ ทอง เงิน พลอย หยก และทับทิม เทคนิคที่ใช้ในช่วงศตวรรษที่ปรากฏ คือ การฝังหุ้ม การหล่อแบบขี้ผึ้ง การลงยาสี ได้แก่ การลงยาสีแดง (3) ลวดลายที่ค้นพบจาก กลุ่มประชากรและตัวอย่าง กลุ่มลวดลายที่มีความซ้ำเหมือนกันมากที่สุด เป็นอันดับที่ 1 คือ กลุ่มดอกไม้ ได้แก่ ดอกพิกุล ดอกบัว ดอกกูด ดอกไม้ประจําท้องถิ่น ดอกโบตั๋น ใบไม้และผลองุ่น เป็นอันดับที่ 2 คือ กลุ่มลายก้นหอย ได้แก่ ลายขดก้นหอย และลายเกลียว อันดับที่ 3 คือ กลุ่มสัตว์ในตํานาน ได้แก่ นกแห่งไฟ นกยูง พญานาค มะกะระ กินรี อันดับที่ 4 กลุ่มสัญลักษณ์ ได้แก่ พระจัทร์เสี้ยว ดาว ดวงอาทิตย์ ตัวอักษรฮินดู และรูปทรงไม้กางเขน ฯลฯ (4) สังเคราะห์ข้อมูล องค์ความรู้จากการศึกษาอัตลักษณ์เครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อสร้างองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัย เป็นผลงานสร้างสรรค์เครื่องประดับ 10 ชุด (5) สร้างสรรค์เครื่องประดับจาก แนวความคิดอัตลักษณ์เครื่องประดับจากกลุ่มประเทศอาเซียนการออกแบบเครื่องประดับกลุ่มประเทศอาเซียน มีผลงานสร้างสรรค์ทั้งหมด 10 ชุด ได้แก่ ผลงานการออกแบบเครื่องประดับ อัตลักษณ์ประเทศกัมพูชา อัตลักษณ์ประเทศพม่า อัตลักษณ์ประเทศสปป.ลาว อัตลักษณ์ ประเทศเวียดนาม อัตลักษณ์ประเทศไทย อัตลักษณ์อินโดนีเซีย อัตลักษณ์มาเลเซีย อัตลักษณ์บรูไน อัตลักษณ์สิงคโปร์ และอัตลักษณ์ฟิลิปปินส์
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8561
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810065.pdf426.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น