กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8541
ชื่อเรื่อง: พัฒนาการหนังกลางแปลง และแนวทางการบริหารจัดการ กรณีศึกษา กาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ (พ.ศ.2530-2559)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Outdoor cinem development nd dministrtion nd mngementcse study kwhow film nd t phr film in 1987 – 2016 .d.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูวษา เรืองชีวิน
มนัส แก้วบูชา
งามนิส เขมาชฎากร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ภาพยนตร์ไทย
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารศิลปะและวัฒนธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ ๑.) ศึกษาพัฒนาการหนังกลางแปลง และแนวทางการบริหารจัดการ กรณีศึกษา กาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๕๙) ๒.) เพื่อศึกษาคุณค่า และความสำคัญของหนังกลางแปลงที่มีต่อสังคมไทย ๓.) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารการดำรงอยู่ และนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์หนังกลางแปลงอย่างยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และจากการลงพื้นที่ภาคสนามเพื่อศึกษาประชากรตัวอย่าง จำนวน ๒ กลุ่ม คือ คณะหนังกลางแปลงกาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ โดยขั้นตอนการเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีคุณภาพ หลักการจัดการความรู้ หลักการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักการบริหารงานภาพยนตร์ และแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารองค์กร ผลการวิจัย พบว่า คณะกาเหว่าภาพยนตร์ และท่าพระภาพยนตร์ มีการปรับเปลี่ยนแนวทางการบริหารจัดการในยุคกิจการหนังกลางแปลงเฟื่องฟู พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๓๙ และยุคปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๙ โดยในภาพรวมมีการปรับเปลี่ยน ๑.) รูปแบบการบริหารงานภาพยนตร์ ๒.) การบริหารจัดการด้านกระบวนการฉายหนังกลางแปลง ๓.)การบริหารจัดการบุคลากร และ ๔.) การบริหารจัดการด้านการประชาสัมพันธ์หนังกลางแปลง โดยเหตุอันนำไปสู่การปรับเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการมาจากปัจจัย ๖ ประการ คือ ๑.) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ๒.) ปัจจัยด้านการปรับเปลี่ยนเข้าสู่ยุคดิจิตอล และปัญหาลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ๓.) ปัจจัยด้านพัฒนาการทางเทคโนโลยีของโรงภาพยนตร์ ๔.) ปัจจัยด้านสื่อบันเทิงที่เข้าถึงที่พักอาศัย ๕.) ปัจจัยด้านบรรยากาศในการรับชมภาพยนตร์ และ ๖.) ปัจจัยด้านข้อตกลงเรื่อง พื้นที่จัดฉายหนังกลางแปลงระหว่างบริษัทในเครือผู้จัดจำหน่าย (สายหนัง) และผู้ประกอบการหนังกลางแปลง ผลการศึกษาคุณค่า และความสำคัญของหนังกลางแปลงที่เชื่อมโยงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน พบว่า หนังกลางแปลงมีคุณค่า และความสำคัญ ๔ ประการ คือ ๑.) เป็นสื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมของชนชาติอื่น ๒.) เป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมการซื้อ-ขาย สินค้าอุปโภค บริโภค หรือยารักษาโรคที่จำเป็นต่อวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในสังคมไทย ๓.) เป็นสื่อที่สร้างความผูกพันอันดีระหว่างผู้ชมภาพยนตร์ และนักพากย์หนังกลางแปลง และ ๔.) เป็นมหรสพที่นิยมนำมาใช้เป็นสิ่งแก้บนในพิธีกรรมแก้บน จากผลการศึกษาข้างต้นนำมาสู่ข้อเสนอแนะแนวทางการดำรงอยู่ และการอนุรักษ์หนังกลางแปลงอย่างยั่งยืน ได้แก่ การพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมหนังกลางแปลง การสร้างค่านิยมในสังคม การสร้างจิตสำนึกในการคัดสรรภาพยนตร์แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมหนังกลางแปลง การสร้างจรรยาบรรณด้านการตลาดภาพยนตร์ การส่งเสริมการศึกษาอุตสาหกรรมหนังกลางแปลง การอนุรักษ์ วัตถุทางด้านหนังกลางแปลง และการอนุรักษ์พิธีกรรมแก้บน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8541
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56920655.pdf4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น