กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8536
ชื่อเรื่อง: การออกแบบลวดลายผลิตภัณฑ์จากการผสมผสานลวดลายงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาไทยกับทิเบต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The product ptterns design combines from thilnd nd tibetn buddhist rts
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญชู บุญลิขิตศิริ
ภานุ สรวยสุวรรณ
ฮี, เฉา
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
He, Zhao
คำสำคัญ: ลวดในศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
พุทธศาสนากับศิลปกรรม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของลายกระหนก และลายเมี่ยวเหลียนเพื่อค้นหาความหมายของรูปแบบและเอกลักษณ์ภายนอกที่มีร่วมกันและใช้เป็นแนวทางในการออกแบบลวดลายใหม่ตามสไตล์การออกแบบของผู้วิจัยที่เกิดจากการผสมผสาน เอกลักษณ์ข้ามวัฒนธรรมไทยจีนตามมิติของศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาและนำลวดลายดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ ผลการศึกษาพบว่าลายกระหนกและลายเมี่ยวเหลียนเป็นลวดลายทางพระพุทธศาสนาที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับพลังอำนาจและความสำเร็จ ตลอดจนถือเป็นลวดลายประดับที่สวยงาม เมื่อดำเนินการวิเคราะห์เอกลักษณ์ภายนอก พบว่าลายกระหนกมีลักษณะปรากฏเป็นภาพคล้ายกับการเจริญเติบโตของต้นไม้และลายเมี่ยวเหลียนคือภาพสมบูรณ์ของดอกบัว ดังนั้น ลวดลายทั้งสองนี้ จึงเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนของธรรมชาติที่มักนำมาใช้เป็นองค์ประกอบในการตกแต่งศิลปะทางพระพุทธศาสนา เมื่อผู้วิจัยค้นพบความหมายของรูปแบบและเอกลักษณ์ภายนอกที่มีร่วมกันแล้วได้ ดำเนินการออกแบบแบบร่างไว้ทั้งสิ้น 7 แบบร่างและเมื่อนำแบบร่างทั้งหมดไปสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบทั้งในประเทศไทยและจีน พบว่าลวดลายทั้งหมดสามารถสื่อความหมายและเป็นตัวแทนของลวดลายที่มีเอกลักษณ์จากการผสมผสานข้ามวัฒนธรรม ทั้งนี้ เมื่อผู้วิจัยนำแบบร่างลวดลายไปดำเนินการออกแบบผลิตภัณฑ์พบว่าลวดลายที่ออกแบบใหม่ตามสไตล์ของผู้วิจัยนี้ไม่เพียงแต่สามารถใช้กับการแกะสลักเครื่องหนังได้เท่านั้น ยังสามารถ ประยุกต์ใช้บนผลิตภัณฑ์ได้อย่างหลากหลาย เช่น เสื้อผ้า บรรจุภัณฑ์ของตกแต่งบ้าน หน้าเว็บไซต์ และของใช้ในชีวิตประจำวันได้อันจะส่งผลให้เกิดการบริโภคงานศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนามากขึ้นจนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้แก่ ผู้สนใจนำไปประกอบเป็นอาชีพ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์สืบสานและสืบทอดมรดกวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาอันดีงามของสองชาตินี้ให้แก่คนรุ่นหลังต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศป.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8536
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57920313.pdf5.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น