กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8530
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองการนำเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล : กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A digitl locl museum content presenttion model bsing on present-to-pst concepts through digitl technology: cse study of ngsil locl museum
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาติ เถาทอง
ทิพย์เกสร บุญอำไพ
โกวิทย์ ทะลิ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
พิพิธภัณฑ์ชุมชน -- การบริหาร
พิพิธภัณฑ์ชุมชน
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีต ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจําลอง การนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลสําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่อนุรักษ์ กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นอ่างศิลาและทดสอบและรับรองแบบจําลอง การนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้ที่เหมาะสม สําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบริบทใหม่ ขอบเขตของการวิจัยด้านพื้นที่ ผู้วิจัยเลือกพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราช (พิพิธภัณฑ์ประจําท้องถิ่นอ่างศิลา) ตําบลอ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ผู้วิจัยมีแนวคิดพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นแหล่งรับรู้และเรียนรู้ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีต โดยศึกษาปัจจัยต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการนําเสนอสาระของพิพิธภัณฑ์บนพื้นที่ อนุรักษ์ ศึกษาหลักการวางโครงเรื่องโดยชุมชนมีส่วนร่วมและทดสอบแบบจําลอง ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดปัจจุบันสู่อดีตสามารถสร้างกระบวนการนําเสนอสาระ พิพิธภัณฑ์สู่แบบจําลอง Kowit Model เพื่อให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้สําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบนพื้นที่อนุรักษ์ในปัจจุบันของศตวรรษที่ 21 มีด้วยกัน 3 มิติ มิติแรกคือพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นมีความสัมพันธ์กับการเชื่อมโยงความรู้ของอดีต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลนําเสนอสาระบนพื้นที่อนุรักษ์จะต้องคํานึงถึงหลัก 2 ประการ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต้องแสดงให้เห็นสาระความเป็นของแท้ดั้งเดิม เป็นส่วนพื้นฐานในการเข้าถึงลักษณะเนื้อหาต่าง ๆ และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลต้องสร้างความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างความสมบูรณ์ไม่ขัดแย้งจนไปทําลายคุณค่าของพื้นที่อนุรักษ์หรือโบราณสถาน มิติที่ 2 สื่อการเรียนรู้หรือสื่อจัดแสดงในการออกแบบสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ การจัดนิทรรศการและการนําเสนอคุณภาพของข้อมูล ออกแบบแพลตฟอร์มดิจิทัล และการหลอมรวมสื่อดิจิทัล และการกําหนดช่องทางการสื่อสาร มิติที่ 3 ด้านรูปแบบการรับและการเรียนรู้ต้องมีการตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมจึงจะจูงใจผู้ชมได้ (2) ทดสอบและรับรองหาประสิทธิภาพแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตให้เกิดการรับรู้และการเรียนรู้ที่เหมาะสมสําหรับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในบริบทใหม่ผู้วิจัยใช้แบบประเมินความพึงพอใจ โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบประเมินความพึงพอใจสําหรับผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะทาง 4 ท่าน โดยแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์จากปัจจุบันสู่ อดีตมีความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย 4.50) การเพิ่มประสิทธิภาพในการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นได้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.75) รองลงมาคือการประยุกต์ใช้แบบจําลองมีความหลากหลายและปรับให้เข้ากับบริบทของชุมชนได้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) และแบบประเมินความพึงพอใจสําหรับกลุ่มตัวอย่างนักเรียน นักศึกษา แบบจําลอง การนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์จากปัจจุบันสู่อดีตมีความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย 4.59) อยู่ในระดับมากที่สุด การจัดนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.80) รองลงมาคือสามารถเข้าใจเนื้อหาและเกิดการรับรู้และการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.70) กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์จากปัจจุบันสู่อดีต มีความเป็นไปได้ (ค่าเฉลี่ย 4.38) อยู่ในระดับมาก ประเด็นการจัดนิทรรศการส่งเสริมการเรียนรู้อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.63) รองลงมาคือ ข้อมูลแสดงถึงคุณภาพและความเหมาะสมของเนื้อหา เนื้อหาส่งเสริมจิตนาการและสร้างแรงบันดาลใจได้และความพึงพอใจภาพรวมของการนําเสนอเนื้อหาอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.50) และการทดสอบและรับรองแบบจําลองการนําเสนอสาระพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นตามแนวคิดปัจจุบันสู่อดีตผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ของกลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและส่วนงานราชการ โดยมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง สํานักงานเทศบาลเมืองอ่างศิลา ได้นําผลงานวิจัยมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยได้ใช้คู่มือฯ เป็นแนวทางการจัดนิทรรศการและการตกแต่งห้องต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ตําบลอ่างศิลา อําเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ที่เทศบาลดูแลอยู่ ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับปรุง เตรียมการดําเนินการตามหนังสือเลขที่ ชบ 54502/2062 สํานักงานเทศบาลเมืองอ่างศิลา ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8530
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
55810054.pdf143.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น