กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8520
ชื่อเรื่อง: ฮวงจุ้ยกับหลักการออกแบบ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Feng-shui nd design principle
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภรดี พันธุภากร
สันติ เล็กสุขุม
เอกพงศ์ อินเกื้อ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
การออกแบบ
ฮวงจุ้ย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาฮวงจุ้ยกับหลักการออกแบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหา รูปแบบในข้อปฏิบัติของฮวงจุ้ยจีนและหลักการออกแบบที่มีความสัมพันธ์และแตกต่างกัน วิเคราะห์ปัจจัยของหลักปฏิบัติฮวงจุ้ยและหลักการออกแบบที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบร้านค้าในศูนย์การค้า และสังเคราะห์เปรียบเทียบ และวิจารณ์หลักฮวงจุ้ยจีนกับหลักการออกแบบในการศึกษาต้องการค้นหาและอธิบายความเหมือนต่างของฮวงจุ้ยกับหลักการออกแบบ โดยใช้พื้นที่ของศูนย์การค้า แพลทินั่ม แฟชั่น มอลล์ และศูนย์การค้าพาลาเดียมเวิล์ดช้อปปิ้ง เป็นพื้นที่ในการอธิบายแนวความคิด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิง คุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อให้ได้คําอธิบายของงานวิจัย โดยใช้การเปรียบเทียบวิจารณ์ ความเหมือนต่างของฮวงจุ้ยจีนกับหลักการออกแบบสากล เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ผลการศึกษาพบว่า (1) ฮวงจุ้ยมีกระบวนการทํางานที่เป็นวิทยาศาสตร์ ทั้งฮวงจุ้ยและหลักการออกแบบต่างมีผลลัพธ์ในแนวความคิดเดียวกันคือตอบสนองหรือแก้ปัญหาของมนุษย์ในการดํารงชีวิตโดยเฉพาะเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ อีกทั้งยังมีกระบวนการที่สามารถพิสูจน์ได้ทั้งจากการสังเกตและการทดลอง (2) ทิศทางตามหลักฮวงจุ้ยไม่สามารถใช้ได้กับประเทศไทย เนื่องจาก พื้นที่ต้นกําเนิดคือประเทศจีน สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศแตกต่างกับประเทศไทยซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ (3) ฮวงจุ้ยและหลักการออกแบบให้ความสําคัญกับการเข้าถึงพื้นที่ เห็นได้จากข้อปฏิบัติของฮวงจุ้ยได้จัดวางตําแหน่งที่ตั้งซึ่งเมื่อทดสอบแล้วพบว่าล้วนมีศักภาพในการเข้าถึงพื้นที่มากเทียบเคียงกับหลักการออกแบบที่เน้นการเข้าถึงพื้นที่ รูปแบบการวางผังและการสัญจร พบความสัมพันธ์ของทั้งฮวงจุ้ยกับหลักการออกแบบในการเน้นจุดเชื่อมต่อของเส้นทางสัญจรภายในศูนย์การค้า (4) การจัดวางตําแหน่งและการจัดองค์ประกอบเน้นความเป็นระเบียบ เรียบร้อยสาระสําคัญของข้อปฎิบัติฮวงจุ้ยมีความสัมพันธ์กับหลักการออกแบบโดยนําเสนอผ่านการจัดวางสินค้าที่ให้ความสําคัญกับสัดส่วนมนุษย์ การใช้งานสามารถปรับได้ตามความเหมาะสม และทัศนธาตุ ความงามและสุนทรียศาสตร์ และที่สําคัญหลักการออกแบบเปิดพื้นที่ให้กับรสนิยมในการจัดพื้นที่ของตนเอง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8520
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
54810206.pdf66.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น