กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8072
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมคิด อินเทพ
dc.contributor.advisorจุฑาพร เนียมวงษ์
dc.contributor.authorวิศวัฒน์ ลี้มงคล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:54:24Z
dc.date.available2023-05-12T06:54:24Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/8072
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการการสอนการแก้ปัญหา งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action research) มีทั้งหมด 3 วงจรได้แก่ 1. ความรู้พื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น 2. ความน่าจะเป็น และ 3. การวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งแต่ละวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1. การวางแผน (plan) 2. การปฏิบัติตามแผน (act) 3. การสังเกต (observe) และ 4. การสะท้อนผล (reflect) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่สมัครใจเรียนในคาบชุมชน ในภาคเรียนที่ 1 และ 2 ปีการศึกษษ 2561 โรงเรียนชลบุรี “สุขบท” อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จำนวน 33 คน เก็บข้อมูลโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 9 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1/E2) และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E.I.) และการหาประสิทธิผล วิเคราะห์ตีความและสรุปแล้วนำเสนอโดยการพรรณนาความ ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหา สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) 70/70 ในวงจรที่ 1 มีค่าเป็น 70.51/69.70 ในขณะที่วงจรที่ 2 และ 3 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 โดยมีค่า E1/E2 คือ 83.60/79.29 และ 80.88/81.57 ตามลำดับ 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มีค่าดัชนีประสิทธิผลรายกลุ่มเท่ากับ 0.69 ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ 0.5 3. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหาสาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น มีค่าดัชนีประสิทธิผลรายกลุ่มของวงจรที่ 1-3 เท่ากับ 0.69, 0.76 และ 0.79 ตามลำดับซึ่งมากกว่าเกณฑ์ 0.5 4. เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสาตร์โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหา สาระการวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป้น มีคะแนนเฉลี่ยในวงจรที่ 1-3 คือ 2.77, 3.01 และ 3.16 คะแนน ตามลำดับซึ่งสูงกว่า 2.50 คะแนน และอยู่ในระดับค่อนข้างมาก
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
dc.subjectการเรียนการสอน (มัธยมศึกษา)
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
dc.titleการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นโดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดแบบคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับกระบวนการสอนการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternativeA clssroom ction reserch on dt nlysis nd probbility using constructivism teching models with problem-solving teching methods for lower secondry school students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop a model for mathematics learning activities, to study mathematics learning achievement, to study the ability to solve mathematical problems and to study attitude in mathematics learning in data analysis and probability of lower secondary school students using a constructivist teaching model with problem-solving teaching methods. This research each loop used an action research model consisting of 4 steps: 1. Plan 2. Act 3. Observation and 4. Reflection includes 3 learning loops; 1. Basic knowledge of Data analysis and Probability 2. Probability and 3. Data analysis. The target group used in this research were 33 lower secondary school students who voluntarily studied in club activity period in the first and second semester of the academic year 2018, Chonburi “Sukkhabot” School, Mueang Chonburi District, Chonburi Province. The data were collected by using 9 lesson plans of a constructivist teaching model with problem-solving teaching methods, the test of learning achievement (Pre-test and Post-test), ended-loop test (for problem-solving ability test) and attitude survey in mathematics learning. Statistics used for data analysis were a percentage, mean, standard deviation, process efficiency (E1/E2), and finding effectiveness index (E.I.). Analysis of the descriptive data was used to explain the research hypotheses. The results of the research could be explained as follows: 1. The process efficient of teaching model based on the constructivist concepts with problem-solving methods in data analysis and probability in the 1st loop was 70.51/69.70 while in the 2nd and 3rd loop were the efficiency value were 83.60/79.29 and 80.88/81.57 respectively, which were higher than the criteria, 70/70. 2. For Learning achievement of lower secondary school students who had participated in mathematics learning activities using a teaching model based on constructivist concepts with problem-solving methods in data analysis and probability, the effectiveness index of the classroom equals to 0.69, which was greater than the criteria of 0.5, The average score was 19.12 or 76.48% of the total score, representing a good learning achievement. 3. For the ability to solve mathematical problems of lower secondary school students who had participated in mathematics learning activities using a teaching model based on constructivist concepts with problem-solving methods in data analysis and probability, the group effectiveness index of the 1st to the 3rd loop were 0.69, 0.76 and 0.79 respectively, which is greater than the criteria of 0.5. 4. The average score of an attitude towards mathematics learning of lower secondary school students who had participated in mathematics learning activities using a teaching model based on constructivist concepts with problem-solving methods in data analysis and probability in the 1st-3rd loop were 2.77, 3.01 and 3.16 respectively, which were higher than 2.50 points and could be defined as quite high attitude.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineคณิตศาสตร์ศึกษา
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf48.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น