กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7988
ชื่อเรื่อง: ผลของความแตกต่างทางเพศและบุคลิกภาพในผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีต่อข้อความภาษาไทยและเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ : การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of gender nd personlity differences in young dults on the emotionl vlence of thi texts nd digitized sounds : behviorl nd event-relted potentil study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุทัยพร ไก่แก้ว
เสรี ชัดแช้ม
ศราวิน เทพสถิตย์ภรณ์
เนตรนภา ปรียาณุรักษ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
อารมณ์
บุคลิกภาพ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บุคคลที่มีบุคลิกภาพและเพศที่แตกต่างกัน เมื่อมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทับ ด้านความประทับใจ มีอารมณ์ลักษณะพึงพอใจและลักษณะไม่พึงพอใจแตกต่างกัน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น ศึกษาอารมณ์ด้านความประทับใจในเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ จำแนกตามเพศและบุคลิกภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก ปีการศึกษา 2560 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นกิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจมาตรวัดอารมณ์ความรู้สึก (SAM) ด้านความประทับใจ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง NeuroScan System วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ two-way ANOVA ผลการวิจัยปรากฎว่า 1. กิจกรรมการทดลองมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจในผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย กิจกรรม 2 ชุด ชุดละ 12 สิ่งเร้า จำแนกตามลักษณะอารมณ์ คือ ลักษณะพึงพอใจและลักษณะไม่พึงพอใจ 2. ผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยมีอารมณ์ด้านความประทับใจในลักษณะพึงพอใจมากกว่าบุคลิกภาพแบบกลาง ๆ ขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจลักษณะพึงพอใจ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้ใหญ่ตอนต้นที่มีบุคลิกภาพแบบกลาง ๆ มีอารมณ์ด้านความประทับใจในลักษณะไม่พึงพอใจมากกว่าบุคลิกภาพแบบเปิดเผย อย่างมีนียสำคัญทางสถิติที่่ระดับ .01 3. คลื่นไฟฟ้าสมองของผู้ใหญ่ตอนต้นขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ ลักษณะพึงพอใจและลักษณะไม่พึงพอใจ ระหว่างผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบเปิดเผยกับแบบกลาง ๆ แตกต่างกันที่บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง F3 บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง C4 และบริเวณเปลือกสมองส่วนขมับ (Temporal Lobe) ที่ตำแหน่ง TP7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระหว่างเพศชายกับเพศหญิงแตกต่างกันที่บริเวณเปลือกส่วนท้ายทอย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง OZ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า ผู้ใหญ่ตอนต้นที่บุคลิกภาพต่างกัน ขณะมองข้อความภาษาไทยและฟังเสียงดิจิทัลที่เร้าอารมณ์ด้านความประทับใจ ลักษณะพึงพอใจ มีอารมณ์ด้านประทับใจ ลักาณะพึงพอใจแตกต่างกัน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปรด)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7988
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf70 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น