กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7963
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.advisorวิชญา กันบัว
dc.contributor.authorชุติมณฑน์ ภู่นภาอำพร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:15:01Z
dc.date.available2023-05-12T06:15:01Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7963
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของคุณภาพน้ำ และดินตะกอนต่อการ เปลี่ยนแปลงสัตว์ทะเลหน้าดินในบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด โดยจะทำการเก็บตัวอย่างเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (มีนาคม) ฤดูฝน (กรกฎาคม) และฤดูปลายฝน (กันยายน) ปี พ.ศ. 2560 ทั้งหมด 15 สถานี ซึ่งจะทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำ (อุณหภูมิความเป็นกรด-ด่าง ความเค็ม ออกซิเจนละลายน้ำ คลอโรฟิลล์-เอและของแข็งแขวนลอยรวม) และคุณภาพดินตะกอน (น้ำในดินตะกอน สารอินทรีย์ รวม และซัลไฟด์รวม) รวมถึงศึกษาความหนาแน่น และความหลากหลายของสัตว์ทะเลหน้าดินใน บริเวณอ่าวตราด และนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทางสถิติ ผลการศึกษาคุณภาพน้ำ พบว่า อุณหภูมิมีค่าอยู่ในช่วง 28.4-32.7 องศาเซลเซียส ความเป็นกรด-ด่างมีค่าอยู่ในช่วง 6.8- 8.9ความเค็มมีค่าอยู่ในช่วง 0.1-31.2 psu ออกซิเจนละลายน้ำ มีค่าอยู่ในช่วง 5.1-9.8 มิลลิกรัมต่อลิตรคลอโรฟิลล์-เอ มีค่าอยู่ในช่วง 0.8- 38.3 ไมโครกรัมต่อลิตรและปริมาณของแข็งแขวนลอยรวมในน้ำมีค่าอยู่ในช่วง 11.0-97.0 มิลลิกรัมต่อลิตร สำหรับคุณภาพดินตะกอนพบว่า ปริมาณน้ำในดินตะกอนมีค่าอยู่ในช่วง 24.2-79.6 เปอร์เซ็นต์ สารอินทรีย์รวมในดินตะกอนมีค่าอยู่ในช่วง 1.6-25.0 เปอร์เซ็นต์และซัลไฟด์รวมในดินตะกอนมีค่าอยู่ในช่วง nd-0.479 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้งของดินตะกอนในส่วนของสัตว์ทะเลหน้าดิน พบทั้งหมด 74 ชนิด โดยจำแนกเป็น 4 Phylum (Mollusca 35 ชนิด, Annelida 26 ชนิด, Arthropoda 12 ชนิด และ Echinodermata 1 ชนิด) พบความหนาแน่นรวมของสัตว์พื้นท้องน้ำอยู่ในช่วง 16- 10,352 ตัวต่อตารางเมตร พบดัชนีความมากชนิด และความหลากหลายสูงสุดในฤดูแล้ง โดยมีค่าเท่ากับ 2.65 และ 2.75 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์ทะเลหน้าดินกับปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางน้ำ พบว่า Triphoridae มีความสัมพันธ์กับสารอินทรีย์ในดินตะกอน (p< 0.05) Solariellidae มีความสัมพันธ์กับซัลไฟด์รวมในดินตะกอน (p< 0.05) Aoridaeและ Melitidae มีความสัมพันธ์กับความเค็มของน้ำ (p< 0.05)
dc.language.isoth
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectดินตะกอน -- การวิเคราะห์
dc.subjectคุณภาพดิน
dc.subjectชีววิทยาทางทะเล
dc.subjectScience and Technology
dc.subjectคุณภาพน้ำ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.titleผลกระทบของคุณภาพน้ำและดินตะกอนต่อการเปลี่ยนแปลงสัตว์ทะเลหน้าดินบริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด
dc.title.alternativeEffect of wter qulity nd sediment for vrition of benthosin the trt by, trt province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research to study on effect of water quality and sediment for variation of benthos in the Trat Bay were divided into three seasons, dry season (March) rainy season (July) and late rainy season (September) of the year 2017. All of fifteen stations were studied on water quality (Temperature, pH, Salinity, Dissolved Oxygen, Chlorophyll a and Total Suspended Solid) and sediment quality (Water Content, Total Organic Matter and Acid Volatile Sulfide) include the density and diversity of benthos in Trat Bay. All of data were analyzed by statistical analysis. The results of water and sediment quality showed that Water Temperature in the range of 28.4-32.7 o C. Potential of Hydrogen ion (pH) in the range of 6.8- 8.9. Salinity in the range of 0.1-31.2 psu. Dissolved Oxygen in the range of 5.1-9.8 milligrams per liter. Chlorophyll a in the range of 0.8- 38.3 micrograms per liter and Total Suspended Solids (TSS) in the range of 11.0- 97.0 milligrams per liter while sediment quality was found Water Content in the range of 24.2- 79.6 percent. Total Organic Matter in the range of 1.6-25.0 percent and Acid Volatile Sulfides in the range of nd-0.479 milligrams per gram dry weight of sediment. For the results of benthos found 74 species belonging to 4 phylum were; Mollusca (35 species), Annelida (26 species), Arthropoda (12 species) and Echinodermata (1 specie). The total density ranged from 16 to 10,352 animals per square meter. Index of species richness and the highest diversity in the dry season were 2.65 and 2.75 respectively. The correlation between benthos and aquatic environment was found to be Triphoridae correlated with Total Organic Matter in sediment (p<0.05). Solariellidae was correlated with Acid Volatile Sulfide (p<0.05). Tellinidae was correlated with Dissolved Oxygen (p<0.05). Pilargiidae was correlated with Dissolved Oxygen. Finally, Aoridae and Melitidae were correlated with Salinity (p<0.05).
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf6.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น