กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7908
ชื่อเรื่อง: ชุมชนเข้มแข็งบนฐานทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Community strengthening bse on socil cpitl nd culturl cpitl of floting mket communities in tling chn district, bngkok metropolitn
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
จันทร์ชลี มาพุทธ
สุวิทย์ คงสงค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ชุมชนริมน้ำ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
ชุมชนริมน้ำ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นชุมชนเข็มของชุมชนตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษากระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรม 3) ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการและวิธีจัดการและแนวทางป้องกันแก้ไขและรักษาความเป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนตลาดน้ำในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและการสำรวจภาคสนามโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยคณะกรรมการเครือข่าย ผู้นำชุมชน พระสงฆ์ ผู้บริหารภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ผู้ประกอบการ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักท่องเที่ยวและผู้อาศัยในพื้นที่ รวม 31 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ระยะเวลาศึกษา คือ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ถึง เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 รวม 7 เดือน ผลการวิจัย มีดังนี้ 1. ความเป็นชุมชนเข้มแข็งของพื้นที่ชุมชนตลาดน้ำ ในเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร พบว่าเป็นชุมชนเก่าแก่ มีประวัติเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นพื้นที่อพยพยกทัพผ่านของผู้คนตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองและตั้งเป็นเมืองหลวงในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช มีศาสนาสถานเก่าแก่และมีลำคลองหลายสายมีประชาชนหลากหลายชื้อชาติตั้งถิ่นฐาน มีประเพณีที่สำคัญ คือ ประเพณีชักพระ แข่งเรือ ทำขวัญข้าว สถานที่สำคัญ คือ ตลาดน้ำ 4 แห่ง สวนผลไม้ สวนดอกไม้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง เป็นทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของชุมชน ปัจจุบัน เขตตลิ่งชันเป็น 1 ใน 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ยังคงความเป็นชุมชนแบบดั้งเดิม วิถีชีวิต ของคนในพื้นที่ส่วนมากยังคงเป็นเกษตรกรและใช้เส้นทางน้ำในการสัญจร คมนาคม 2. กระบวนการและวิธีการจัดการทุนทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมพบว่ามีการตั้งเครือข่ายคณะกรรมการผู้น้ำชุมเป็นผู้บริหารจัดการดูแลกิจการตลาดน้ำ พื้นที่สำคัญ 4 แห่ง คือ ตลาดน้ำตลิ่งชัน ตลาดน้ำคลองลัดมะยม ตลาดน้ำวัดสะพาน และตลาดน้ำวัดจำปา มีการประชุมวางแผนจัดระบบการดำเนินการของตลาดน้ำและสื่อสารประชาสัมพันธ์โดยจัดกิจกรรมตามประเพณีและเทศกาลของชุมชน เป็นวิถีชีวิตและการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบไทย รักษาสภาพแวดล้อม สร้างเสริมความสามัคคีในชุมชนและร่วมใจกันพัฒนาชุมชนให้เป็นเอกลักษณ์ท่ามกลางการเปลี่ยนของชุมชนเมือง 3. ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนและวีธีการจัดการ พบว่าความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ อากาศ และมลพิษทางน้ำเป็นปัญหาสำคัญ การระบานน้ำเสียลงสู่ลำคลอง การทิ้งขยะมูลฝอยทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง การอพยพย้ายถิ่นเข้าสู่ชุมชนของคนนอกพื้นที่ ทำให้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมเดิมเปลี่ยนไป การขยายตัวอย่างรวดเร็วของ โรงงานบ้านจัดสรร ส่งผลต่ออัตลักษณ์และรูปแบบการดำเนินชีวิตของคนในชุมชน 4. แนวทางป้องกัน แก้ไขและรักษาความเป็นชุมชนเข็มแข็ง พบว่า ทั้งภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน มีความกระหนัก เริ่มรณณรงค์ปลูกฝังความเป็นอัตลักษณ์โดดเด่นของชุมชนสร้างจิตสำนึกให้มีความร่วมมือกันของคนในชุมชน ให้เห็นคุณค่าของวัฒนธรรมชุมชน ช่วยกันอนุรักษ์สืบต่อให้เป็นจุดแข็งในการพัฒนาต่อไป
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7908
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น