กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7885
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisorไพรัตน์ วงษ์นาม
dc.contributor.authorพัชราภรณ์ ไวกุณฐ์วิวรรธน์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned2023-05-12T06:13:02Z
dc.date.available2023-05-12T06:13:02Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7885
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบ แบบพหุมิติ พัฒนาคลังข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ สําหรับจัดสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และประเมินคุณภาพของโปรแกรม การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ กระบวนการวิจัยประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) พัฒนาคลังข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยวิเคราะห์ ค่าพารามิเตอร์ของข้อสอบ ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ ด้วยโมเดลปกติสะสมแบบพหุมิติกับโอกาสการเดา จากข้อมูลทุติยภูมิที่เป็นคะแนนผลการสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) โดยใช้โปรแกรม NOHARM 2) พัฒนาโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบ Web Application และคู่มือการใช้งานโปรแกรม กระบวนการทดสอบเริ่มต้นโดยการคัดเลือกข้อสอบข้อแรกและข้อถัดไปจากข้อสอบที่มีค่าสารสนเทศสูงสุดด้วยวิธีการ Bayesian Volume Decrease ประมาณ ค่าความสามารถของผู้สอบด้วยวิธี Bayesian Estimation และยุติการทดสอบเมื่อผู้สอบทำข้อสอบ ทั้ง 5 มิติครบ 50 ข้อ 3) ทดลองใช้งานโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์และคู่มือการใช้งานโปรแกรมกับครูจำนวน 12 คน และนักเรียนจำนวน 153 คน และ 4) ประเมินคุณภาพของโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ในประเด็นเกี่ยวกับ ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุมและความเหมาะสมของโปรแกรม การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ จากผู้ใช้งานโปรแกรม ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จํานวน 152 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผ่าน การคัดเลือกเข้าคลังข้อสอบ มีจำนวน 163 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกแบบพหุมิติ (MDISC) อยู่ระหว่าง 0.024 ถึง 0.435 และมีค่าความยากแบบพหุมิติ (MDIFF) อยู่ระหว่าง -3.489 ถึง 2.294 2. โปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการได้ทุกระบบที่มี Web Browser สามารถวิเคราะห์ความสามารถของผู้สอบได้ ทั้งความสามารถแยกตามมิติและความสามารถโดยรวม และยังสามารถจําแนกระดับความสามารถของผู้สอบออกเป็น 4 ระดับย่อย คือ ดีมาก ดี พอใช้ และปรับปรุง 3. การทดลองใช้งานโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์และคู่มือการใช้งานโปรแกรม พบว่าทั้งครูและนักเรียนมีความพึงพอใจกับกระบวนการทำงานของโปรแกรมและคู่มือการใช้งาน และจากการประเมินคุณภาพของโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์โดยผู้ใช้งาน พบว่าโปรแกรมมีคุณภาพด้านความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความถูกต้องครอบคลุมและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
dc.subjectข้อสอบ -- การประเมิน
dc.subjectการทดสอบ -- เครื่องมือและอุปกรณ์
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.titleการประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติในการพัฒนาคลังข้อสอบ Pre O-NET กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 : การทดสอบแบบปรับเหมาะด้วยคอมพิวเตอร์
dc.title.alternativeAn ppliction of multidimensionl item response models for developing the item bnk of pre o-net test in thi subject: computerized dptive testing
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to; analyze the items quality of Pre O-NET examination by applying multidimensional item response models, construct the Pre O-NET item bank, develop a computerized adaptive testing program for Pre O-NET examination in Thai subject at the grade nine level and evaluate the quality of computerized adaptive testing program. The research methods were divided into 4 steps: 1) Analyze the item quality of Pre O-NET examination in Thai subject at the grade nine level; parameter estimation with multidimensional of three parameter normal ogive model by NOHARM program using the Pre O-NET. Test scores of grade nine students from educational opportunity extension school in 2011 to 2015 academic year were drawn from the Chumphon Primary Educational Service Area Office 1 of test’s database of 500 students by using the multi-stage random sampling techniques. 2) Develop the computerized adaptive testing program as a web application and a handbook for using the program; item selection criteria proceeds by computing the determinant of the posterior information matrix form Bayesian method volume decrease, ability estimation by Bayesian estimator and item termination criteria based on length of test. 3) Trial of the computerized adaptive testing program and the handbook. The sample of this step consisted of 12 teachers in the first trail and 153 students in the second trail and 4) Evaluate the quality of computerized adaptive testing program by assessing users’ satisfaction. The sample comprised of 152 grade nine students. The results were as followed: 1. The item bank had quality of criterion consisted of 163 items with the MDISC ranging between 0.024 to 0.435 and the MDIFF ranging between -3.489 to 2.294. 2. The computerized adaptive testing was able to run on any Operating System with web browser and it could analyze of grade nine students in Thai subject on ability and overall with classification of examinee into excellent, good, fair or poor level. 3. The trial implementation of the computerized adaptive testing program and a handbook by the teachers and students indicated that they had satisfaction both computerized program and handbook. The evaluation of the computerized adaptive testing program by user indicated that it has a considerable quality in term of a utility, feasibility, accuracy and propriety. The computer adaptive testing had a quality at a high level.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.nameปร.ด.
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf7.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น