กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7877
ชื่อเรื่อง: โมเดลทางปัญญาสำหรับการตัดสินใจภายใต้เวลาจำกัดด้วยการปรับแก้ทฤษฎีอาณาเขตการตัดสินใจแบบหลายตัวเลือก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cognitive model for decision mking under time constrint by djusting multilterntive decision field theory
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุชาดา กรเพชรปาณี
เอกพงศ์ แพ่งกุล
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับแก้โมเดลทางปัญญาสำหรับการตัดสินใจภายใต้เวลาจำกัดด้วยทฤษฎีอาณาเขตการตัดสินใจแบบหลายตัวเลือก ด้วยการปรับเปลี่ยนค่าน้ำหนัก การตัดสินใจให้สอดคล้องกับระดับเวลาจำกัด เวลาการจดจ่อ ความถี่การจดจ่อ และความสำคัญคุณลักษณะ ในส่วนที่เรียกว่า “Pre-weights” ภายใต้สถานการณ์การตัดสินใจที่จำกัดทางเวลา และเพื่อตรวจสอบความถูกต้องเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของโมเดลทางปัญญา ฯ การดำเนินการแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ 1) การปรับแก้โมเดลทางปัญญา ฯ 2) การตรวจสอบความถูกต้องเชิงคุณภาพของโมเดลทางปัญญา ฯ โดยการจำลองข้อมูล 2 สถานการณ์ 44 เงื่อนไข เกณฑ์พิจารณาคือ ค่าทำนายความน่าจะเป็นตัวเลือกจากผลกระทบเชิงบริบทของโมเดลปรับแก้เปรียบเทียบกับผล การทำนายของโมเดลก่อนการปรับแก้ และ 3) การตรวจสอบความถูกต้องเชิงปริมาณของโมเดล ทางปัญญาฯ เกณฑ์พิจารณาคือ เปรียบเทียบความแตกต่างเชิงปริมาณระหว่างโมเดลด้วยค่า BIC โดยการประยุกต์โมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 60 คน เป็นทหารกองประจำการ สังกัดกองบริการ กรมการทหารสื่อสาร กรุงเทพมหานคร ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ตุลาคม 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดค่าตัวแปรการตัดสินใจ (DMIS) ที่พัฒนาขึ้นด้วยกล่องเครื่องมือ COGENT ใช้งานบนพื้นฐานของโปรแกรมคำนวณเชิงตัวเลข MATLAB ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) โมเดลทฤษฎีอาณาเขตการตัดสินใจแบบหลายตัวเลือกได้ปรับแก้ค่าน้ำหนักการตัดสินใจในส่วนของ Pre-weights บนพื้นฐานข้อค้นพบทางปัญญาที่เกี่ยวข้อง 2) การตรวจสอบความถูกต้องเชิงคุณภาพ: โมเดลทางปัญญา ฯ ปรับแก้มีความตรงเชิงคุณภาพไม่แตกต่างจากโมเดลทางปัญญา ฯ ก่อนการปรับแก้ หรือสรุปได้ว่า ในเชิงคุณภาพ โมเดลทางปัญญา ฯ ปรับแก้สามารถรองรับพฤติกรรมการตัดสินใจภายใต้ผลกระทบด้านบริบทได้ทั้ง 3 บริบทเช่นเดียวกับโมเดลทางปัญญา ฯ แบบเดิม และ 3) การตรวจสอบความถูกต้องเชิงปริมาณ: ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างเชิงปริมาณระหว่างโมเดล สรุปได้ว่า โมเดลทางปัญญา ฯ ปรับแก้ดีกว่าโมเดลทางปัญญา ฯ แบบเดิม โดยให้ค่าเกณฑ์สารสนเทศของเบย์ (BIC) ระหว่างโมเดลทั้งสอง มีค่าเป็นบวก
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7877
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf19.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น