กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7866
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูในจังหวัดสระแก้ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An nlysis of formtive ssessment skills mong techers in s keo province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุทัยพร ไก่แก้ว
ภัทราวดี มากมี
สุภาวดี ประเสริฐสรรค์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: Humanities and Social Sciences
ครู -- การพัฒนา
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
ครู -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน และเปรียบเทียบทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูในจังหวัดสระแก้ว จำแนกตามเพศและสังกัดของครู กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 130 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมินมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Two-Way MANOVA ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. แบบประเมินทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนของครูในจังหวัดสระแก้ว มีองค์ประกอบ 5 ด้าน 85 ข้อ ประกอบด้วย 1) ด้านการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 14 ข้อ 2) ด้านการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน จำนวน 14 ข้อ 3) ด้านวิธีการประเมินเพื่อการเรียนรู้ จำนวน 21 ข้อ 4) ด้านเนื้อหาผนวกวิธีสอน จำนวน 23 ข้อ และ 5) ด้านประสบการณ์เรียนรู้ของผู้เรียน จำนวน 13 ข้อ มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อ (I-CVI) เท่ากับ 1.00 ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาทั้งฉบับ (S-CVI) เท่ากับ 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .215 ถึง .809 และ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .947 2. การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียน จำแนกตามเพศและสังกัดของครู แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยเพศหญิงมีทักษะกระบวน การประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนดีกว่าเพศชาย และครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีทักษะกระบวนการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เรียนดีกว่าครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7866
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น