กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7842
ชื่อเรื่อง: ความต้องการดูแลและการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cring needs nd receiving cring need responses of fmily members hving terminlly cncer ptients
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา คุณทรงเกียรติ
วารี กังใจ
วนิศา รัชวัตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มะเร็ง -- โรค
มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล
Health Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลของสมาชิกครอบครัวอย่างเหมาะสม มีความจำเป็นมากจะช่วยให้สมาชิกครอบครัวสามารถดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ การวิจิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเปรียบเทียบ เพื่อศึกษาความต้องการการดูแลและการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลของสมาชิกครอบครัวกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสระบุรี จำนวน 67 ราย ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อ มูลทั่วไป แบบสอบถามความต้องการการดูแลและการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลของสมาชิกครอบครัวซึ่งมีค่าเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .87 และ .91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการการดูแลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 120.88, SD = 8.35) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าคะแนนเฉลี่ยความต้องการการดูแลทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร (M = 56.13, SD = 3.79) ด้านร่างกาย (M = 21.14, SD = 2.29) และด้านอารมณ์ (M = 40.64, SD = 3.48) อยู่ในระดับ มาก ส่วนความต้องการการดูแลด้านจิตวิญญาณอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.95, SD = 1.07) คะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลทั้งโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบความต้องการการดูแลและการได้รับการตอบสนองความต้องการดูแล พบว่าความต้องการการดูแลและการได้รับการตอบสนองความต้องการการดูแลโดยรวม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าคะแนนเฉลี่ย ความตอ้งการการดูแลด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านร่างกายและด้านอารมณ์สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยการได้รับการตอบสนองความต้องการดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ส่วนคะแนนเฉลี่ยความต้องการการดูแลและการได้รับการตอบสนอง ด้านจิตวิญญาณไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพในการดูแลให้สอดคล้องกับความต้องการของสมาชิกครอบครัวผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7842
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น