กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7824
ชื่อเรื่อง: ผลของการฝึกจินตภาพที่มีต่อความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคม ภาพลักษณ์ทางกายและกิจกรรมทางกาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of imgery on socil physique nxiety, body imge nd physicl ctivity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรกมล สิงห์น้อย
สุรีพร อนุศาสนนันท์
นฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทร
ดลภา พศกชาติ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
คำสำคัญ: การฝึกจิต
การออกกำลังกาย
Health Sciences
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกจินตภาพที่มีต่อความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคม และภาพลักษณ์ทางกายของตนเองและกิจกรรมทางกายระหว่างผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายสูงและผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำ กลุ่มตัวอย่างที่อาสาสมัครในงานวิจัยนี้เป็นนิสิต จำนวนทั้งสิ้น 80 คน ที่มีอายุเฉลี่ย 18.97, (SD = 1.09) โดยนิสิตทั้งหมดตอบแบบสอบถามประสบการณ์ในการออกกำลังกายก่อนถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 40 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นทำการฝึกตามโปรแกรมจินตภาพที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและออกกำลังกายเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ประกอบด้วย ฝึกจินตภาพ 6-10 นาที และออกกำลังกาย 50 นาที โดยการให้ผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายสูง (กลุ่มที่ 1) และผู้ที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำ (กลุ่มที่ 2) ทำตามขั้นตอน คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ตามด้วยการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 1-4 และในสัปดาห์ที่ 5-8 ออกกำลังกายแล้วตามด้วยการฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกาย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่เริ่มต้นโดยการออกกำลังกายตามด้วยการฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายในสัปดาห์ที่ 1-4 และในสัปดาห์ที่ 5-8 ฝึกจินตภาพเกี่ยวกับการออกกำลังกายตามด้วยการออกกำลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวัดความแปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ (One way ANOVA with repeated measures) และการวัดความแปรปรวนแบบสองทางวัดซ้ำ (Two way ANOVA repeated with measures) จากนั้นทดสอบรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและกิจกรรมทางกายไม่มีความแตกต่างกัน หลังจากฝึกจินตภาพ ตั้งแต่ช่วงก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 [(F = .66, p = .52, (F = 2.65, p = .07)] ตามลำดับ แต่ภาพลักษณ์ทางกายมีความแตกต่างกันระหว่างสัปดาห์ที่ 1 กับสัปดาห์ที่ 8 (t = 3.11,3.18) และสัปดาห์ที่ 4 กับสัปดาห์ที่ 8 (t = 3.12,3.18) ซึ่งแสดงว่า การฝึกจินตภาพไม่ทำให้ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและกิจกรรมทางกายดีขึ้น แต่มีภาพลักษณ์ทางกายดีขึ้นส่วนการเปรียบเทียบการฝึกจินตภาพของกลุ่มที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายต่ำและสูงในระยะก่อนการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 พบว่า มีความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและภาพลักษณ์ทางกายไม่แตกต่างกัน [(F = .29, p = .58), (F = .13, p = .71)] ตามลำดับ แต่ความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างระยะเวลาการทดลอง (F = 6.48, p = .00) ในขณะที่กิจกรรมทางกายมีความแตกต่างกัน (F = 199.98, p = .00) รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลา (F = 43.06, p = .00) แสดงว่า การฝึกจินตภาพทำให้ภาพลักษณ์ทางกายที่ดีขึ้น และหลังจากฝึกจินตภาพไปแล้วในกลุ่มที่มีประสบการณ์การออกกำลังกายที่สูงและต่ำความวิตกกังวลด้านรูปร่างจากสังคมและภาพลักษณ์ทางกายไม่แตกต่างกัน แต่มีพัฒนาการตามระยะเวลาการทดลอง และมีกิจกรรมทางกายลดลง
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น