กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7801
ชื่อเรื่อง: การเพิ่มความจำขณะทำงานด้านภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชัน : การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุการณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Enhncing visul working memory in primry school students using computer-bsed ction gme: n event-relted potentil study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสรี ชัดแช้ม
ปรัชญา แก้วแก่น
รัชกร โชติประดิษฐ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
คำสำคัญ: นักเรียนประถมศึกษา
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ความจำ
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชัน ด้วยการประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้สื่อผสมทางปัญญาสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา และศึกษาผลของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นต่อแบบทดสอบความจำขณะทำงานด้านภาพด้วยกิจกรรม Picture Span และ N-Back และการเปลี่ยนแปลงคลื่นไฟฟ้าสมองขณะทำแบบทดสอบความจำขณะทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 49 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เกมแอคชัน จำนวน 25 คน และกลุ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Non-action Game จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชัน Non-action Game (Tetris Game) แบบทดสอบความจำขณะทำงานด้านภาพ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ระยะหลังการทดลอง กลุ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชันมีค่าเฉลี่ยคะแนนความถูกต้องของการตอบสนองมากกว่าก่อนการทดลอง และมีค่าเฉลี่ยเวลาปฏิกิริยาขณะทำแบบทดสอบความจำขณะทำงาน น้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ระยะหลังการทดลอง กลุ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชัน และกลุ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Non-action Game มีค่าเฉลี่ยความกว้างและค่าเฉลี่ยความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 น้อยกว่าก่อนการทดลอง บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง FPz และ Fz บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง Pz, POz, FCz, Cz และ CPz และบริเวณเปลือกสมองส่วนท้าย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง Oz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ระยะหลังการทดลอง กลุ่มใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชัน มีค่าเฉลี่ยความกว้างและค่าเฉลี่ยความสูงของคลื่นไฟฟ้าสมอง P300 น้อยกว่ากลุ่มใช้ Non-action Game บริเวณเปลือกสมองส่วนหน้า (Frontal Lobe) ที่ตำแหน่ง FPz และ Fz บริเวณเปลือกสมองส่วนบน (Parietal Lobe) ที่ตำแหน่ง Pz และ POz และบริเวณเปลือกสมองส่วนท้าย (Occipital Lobe) ที่ตำแหน่ง Oz อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เกมแอคชันโดยการประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้สื่อผสมทางปัญญาฝึกความจำขณะทำงานด้านภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถเพิ่มความจำขณะทำงานด้านภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาได้
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7801
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf23.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น