กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7781
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors ffecting iodine deficiency prevention behviors mong pregnnt women ttending ntentl cre clinic t regionl hospitl in the northestern region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี
วรรณี เดียวอิศเรศ
กัลยา บัวบาน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โรคขาดสารไอโอดีน
ไอโอดีน
ครรภ์
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการผดุงครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์มีผลกระทบต่อสุขภาพหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ที่ทำการศึกษาวิจัย จำนวน 90 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มอย่างง่าย รวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุด คือ การรับประทานวิตามินเสริมไอโอดีนที่ได้รับจากคลินิกฝากครรภ์วันละ 1 เม็ด (ร้อยละ 71.1) ส่วนพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติเป็นประจำน้อยที่สุด คือ การรับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น อาหารทะเลเพิ่มขึ้น (ร้อยละ8.9) และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์และรายได้ของครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 42.2 (R 2 =.422, p< .01) โดยการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์มากที่สุด (β = .614, p< .01) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนเพิ่มขึ้น และลดการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน โดยเฉพาะในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีบุตรมาก่อน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7781
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น