กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7759
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors predicting overweight mong preschool children in child development center, bngkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมสมัย รัตนกรีฑากุล
สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
วรรณรัตน์ ลาวัง
วิจิตรา อิ่มอุระ
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: โภชนาการ
โภชนาการเด็ก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
เด็ก -- โภชนาการ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ภาวะโภชนาการเกินในเด็กก่อนวัยเรียนเกิดจากหลายปัจจัยทั้งด้านตัวเด็กการเลี้ยงดูของมารดาและสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ดังนั้นการวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทํานายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดา และเด็กก่อนวัยเรียน อายุ 3-5 ปีศึกษาอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของกรุงเทพมหานครจํานวน 445 คู่ และครูประจําชั้น จํานวน 7 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมของเด็ก ความรู้และพฤติกรรมของมารดา สิ่งแวดล้อมที่บ้าน สิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็ก และแบบบันทึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัยพบว่า อัตราภาวะโภชนาเกินของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานครเฉลี่ยร้อยละ 11.91 การวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยแบบโลจิสติก พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และสามารถทํานายภาวะโภชนาการเกินของเด็กก่อนวัยเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็ก(CF) (ORadj = 10.27, 95% CI = 3.60-29.32) กิจกรรมการเคลื่อนไหวร่างกายของเด็ก (CA) (ORadj = 4.30, 95% CI =1.63-11.34) ความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการของมารดา (MK) (ORadj = 3.19, 95% CI =1.16-8.80) พฤติกรรมการจัดอาหารของมารดา (MP) (ORadj = 5.63, 95% CI =2.19-14.52) อาหารที่จัดเก็บในบ้าน (HF) (ORadj = 9.57, 95% CI = 3.06-29.90) พื้นที่สําหรับกิจกรรมที่บ้าน (HAr) (ORadj = 6.28, 95% CI = 2.45-16.06) และการจัดอาหารให้แก่เด็กของศูนย์ฯ (SF) (ORadj = 0.21, 95% CI = 0.05-0.91) มีอํานาจการทํานายร้อยละ 93 เขียนสมการทํานายได้ดังนี้ Logexp (ODDs) = -10.24 + 2.33CF+ 1.46CA + 1.16MK + 1.73MP + 2.26HF+ 1.84HA-1.56SF ผลการวิจัยนี้ให้ข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและผู้มีหน้าที่ดูแลสุขภาพเด็กที่อยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กวัยก่อนเรียนและในชุมชนสามารถนําผลการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและป้องกันภาวะโภชนาการเกินให้แก่เด็กก่อนวัยเรียน โดยเน้นให้มีการปฏิบัติแบบพหุระดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7759
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น