กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7743
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to helth-relted qulity of life mong children with thlssemi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
นฤมล ธีระรังสิกุล
รสสุคนธ์ จารุวรรณบำรุง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
ธาลัสซีเมีย
ธาลัสซีเมียในเด็ก -- ผู้ป่วย -- การดูแลที่บ้าน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคเรื้อรังทางกรรมพันธุ์ ซึ่งต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง เด็กอาจเผชิญกับปัญหาด้านสุขภาพต่าง ๆ อันส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวจิยัเชิงหาความสัมพันธ์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้อาการรบกวน การรับรู้ภาวะสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็น -thalassemia major หรือ -thalassemia/ Hb E ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคเลือด แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 90 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน ถึง เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินการรับรู้ภาวะสุขภาพที่มีลักษณะเป็นมาตรวัดแบบตัวเลข แบบสอบถามการรับรู้อาการรบกวน แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่เป็นโรคธาลัสซีเมีย มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .74, .87 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ภาวะสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r s = .226, p = .032) และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs= -.222, p= .035) ส่วนการรับรู้อาการรบกวนไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรวางแผนออกแบบโปรแกรมที่เน้นการส่งเสริมการรับรู้ภาวะสุขภาพและการสนับสนุนทางสังคม เพื่อให้เด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพที่ดีขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2561
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/7743
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf2.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น